• ข้อมูลทั่วไปของตุรกี
• เมืองหลวงของตุรกีคือ เมืองอังการา (Ankara) อังการาเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากอิสตันบูล ตั้งอยู่ในจังหวัดอังการาอยู่ที่ระดับความสูงเฉลี่ย 938 เมตร มีประชากรประมาณ 3.9 ล้านคน
• เมืองที่ใหญ่ที่สุดของตุรกีคือ
เมืองอิสตันบูล (Istanbul) เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศตุรกี
ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบบอสฟอรัส ซึ่งทำให้อิสตันบูลเป็นเมืองสำคัญเพียงเมืองเดียวในโลก
ที่ตั้งอยู่ใน 2 ทวีป คือ ทวีปยุโรป (ฝั่ง Thrace ของบอสฟอรัส) และทวีปเอเชีย (ฝั่งอนาโตเลีย)
• ตุรกี
หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey) เป็นประเทศที่มีดินแดนทั้งในบริเวณเธรซ
บนคาบสมุทรบอลข่านในยุโรปตอนใต้ และคาบสมุทรอานาโตเลียในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
ตุรกีมีพรมแดนทางด้านทิศตะวันออกติดกับประเทศจอร์เจีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน
และอิหร่าน มีพรมแดนทางด้านทิศใต้ติดกับอิรัก ซีเรีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ส่วนทางทิศตะวันตกติดกับกรีซ บัลแกเรีย และทะเลอีเจียน ทางเหนือติดกับทะเลดำ
ส่วนที่แยกอานาโตเลียและแทรสออกจากกันคือทะเลมาร์มารา และช่องแคบตุรกี
(ช่องแคบบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดาเนลเลส) ซึ่งมักถือเป็นพรมแดนระหว่างทวีปเอเชียกับยุโรป
จึงทำให้ตุรกีเป็นประเทศที่มีดินแดนอยู่ในหลายทวีป
• ตุรกี
เป็นดินแดนที่กวีเอกโฮเมอร์ (Homer) รจนามหากาพย์อีเลียด
(Ilias) ตามแรงบันดาลใจเมื่อได้เห็นฝั่งทะเลอีเจียน ดินแดนที่มาร์ก แอนโทนีและคลีโอพัตราเลือกมาฉลองความหวานชื่ผนแห่งน้ำผึ้งพระจันทร์
ดินแดนแห่งสิ่งมหัสจรรย์ของโลกยุคโบราณ เช่น สุสานแห่งเมืองฮาลิคาร์นัสซุส
(Maausoleum in Halicarnassus) และวิหารเทพีอาร์ทีมิสในเอฟซุส สัมพัสทะเลงดงามที่เทพีวีนัสเคยสรงสนาน
และเพลิดเพลินไปในดินแดนที่เทพีสุริยะให้สมญานามว่า อนาโตเลีย (Anatolia)
• ตุรกีเป็นประเทศสองทวีปที่มีดินแดนอยู่ทั้งในทวีปเอเชียและทวีปยุโรป
ตุรกีในฝั่งเอเชียซึ่งครอบคลุมบริเวณส่วนใหญ่ของคาบสมุทรอานาโตเลีย นับเป็นพื้นที่ร้อยละ
97 ของประเทศ และถูกแยกจากตุรกีฝั่งยุโรปด้วยช่องแคบบอสพอรัส
ทะเลมาร์มะรา และช่องแคบดาร์ดาเนลเลส
(ซึ่งรวมกันเป็นพื้นน้ำที่เชื่อมระหว่างทะเลดำกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) ตุรกีในฝั่งยุโรปซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรบอลข่านมีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ
3 ของทั้งประเทศ
ดินแดนของตุรกีมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาวมากกว่า 1,600 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 800
• ตุรกีฝั่งเอเชียที่มักเรียกว่าอานาโตเลียหรือเอเชียไมเนอร์ประกอบ
ด้วยที่ราบสูงในตอนกลางของประเทศ อยู่ระหว่างเทือกเขาทะเลดำตะวันออกและเกอรอลูทางตอนเหนือกับเทือกเขาเทารัส
ทางตอนใต้ และมีที่ราบแคบ ๆ บริเวณชายฝั่ง ทางตะวันออกของตุรกีมีลักษณะเป็นภูเขาและเป็นต้นน้ำของแม่น้ำหลายสายเช่น
แม่น้ำยูเฟรติส แม่น้ำไทกริส และแม่น้ำอารัส นอกจากนี้ยังมีทะเลสาบวัน และยอดเขาอารารัด
ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของตุรกีที่ 5,165 เมตร
• ตุรกีมีเนื้อที่ทั้งประเทศประมาณ
780,695 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ใน 2 ทวีส่วนที่เหลือในเอเป
คือ เอเชีย และยุโรบ ส่วนที่เหลืออยู่ในเอเชีย 97% เรียกว่า
อนาโตเลีย (Anatolia) ภาษาตุรกี เรียกว่า อนาโดหลุ
(Anadolu) และ อีก 3% อยู่ในยุโยปเรียกว่า
เทรซ (Thrace) พรหมแดนด้านยุโรปติดกับกรีซและบัลแกเรียด้านเอเชียร์ติดกับจอร์เจีย
อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจัน อิหร่าน อิรัก และซีเรีย มีทะเลล้อมล้อม 3 ด้าน ทะเลดำทางทิศเหนือ เมดิเตอร์เรเนียน ทางทิศใต้
และทะเลอีเจียนทางทิศตะวันตก
• สภาพภูมิประเทศที่หลากหลายนั้นเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายพันปี
และยังคงปรากฏให้เห็นในปัจจุบันในรูปของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ
และภูเขาไฟระเบิดใน บางครั้ง
ช่องแคบบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดาเนลเลสก็เกิดจากแนวแยกของเปลือกโลกที่วาง ตัวผ่านตุรกีทำให้เกิดทะเลดำขึ้น
ทางตอนเหนือของประเทศมีแนวแยกแผ่นดินไหววางตัวในแนวตะวันตกไปยังตะวันออก ซึ่งเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปีพ.ศ.
2542
• สภาพภูมิอากาศของตุรกี
• ด้านที่ติดกับชายฝั่งด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กล่าวคือหน้าร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง ส่วนหน้าหนาวอากาศอบอุ่นและมีฝนตก เทือกเขาที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งเป็นตัวกั้นทำให้ภูมิอากาศตอนกลางของประเทศ เป็นแบบภาคพื้นทวีป ซึ่งมีความแตกต่างระหว่างฤดูอย่างเห็นได้ชัด ฤดูหนาวบริเวณที่ราบสูงตอนกลางหนาวมาก อุณหภูมิลดลงถึง -30 ถึง -40? อาจมีหิมะปกคลุมนานถึง 4 เดือนต่อปี
• ด้านที่ติดกับชายฝั่งด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กล่าวคือหน้าร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง ส่วนหน้าหนาวอากาศอบอุ่นและมีฝนตก เทือกเขาที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งเป็นตัวกั้นทำให้ภูมิอากาศตอนกลางของประเทศ เป็นแบบภาคพื้นทวีป ซึ่งมีความแตกต่างระหว่างฤดูอย่างเห็นได้ชัด ฤดูหนาวบริเวณที่ราบสูงตอนกลางหนาวมาก อุณหภูมิลดลงถึง -30 ถึง -40? อาจมีหิมะปกคลุมนานถึง 4 เดือนต่อปี
• ฝั่งตะวันตกของตุรกีมีอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวต่ำกว่า 1 ? ฤดูร้อนร้อนและแห้งแล้ง ในตอนกลางวันมีอุณหภูมิสูงกว่า 30? ปริมาณหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย ต่อปีประมาณ 400 มิลลิเมตร
ซึ่งปริมาณจริงแตกต่างกันไปตามระดับความสูง บริเวณที่แห้งแล้งที่สุดคือที่ราบกอนยาและที่ราบมาลาตยาซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉ
ลี่ยนต่อปีต่ำกว่า 300 มิลลิเมตร
เดือนที่มีฝนมากที่สุดคือเดือนพฤษภาคม และเดือนที่แล้งที่สุดคือเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม
• ตุรกีมีจำนวนประชากรทั้งหมดประมาณ 69,660,559 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวเติร์ก (85%) และเคิร์ด (15%)
นอกจากนั้นเป็นชนกลุ่มน้อยเชื้อสายลาซ เฮมซิน อาหรับ ยิว กรีก
และอาเมย์เนียน ประชากรกว่าครึ่ง (59%) อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่โดยเรียงตามลำดับ
ดังนี้ อิสตันบลู (Istanbul) อังการา (Ankara) อิสมีร์ (Izmir) อาดานา (Adana) คอนยา (Konya) บูร์ซา (Bursa) และอันตาเลีย
(Antalya) ประชากร 99% นับถือศาสนาอิสลาม
ที่เหลือนับถือคริสและยิว
• หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวตุรกีจำนวนมากอพยพไปยังยุโรปตะวันตก
(โดยเฉพาะเยอรมนีตะวันตก)
เนื่องจากความต้องการแรงงานในยุโรปเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดชุมชนชาวตุรกีนอกประเทศขึ้น
แต่ในระยะหลังตุรกีกลับกลายเป็นจุดหมายของผู้อพยพจากประเทศข้างเคียง ซึ่งมีทั้งผู้อพยพที่ปักหลักอยู่ในประเทศตุรกี
และผู้ที่ใช้ตุรกีเป็นทางผ่านต่อไปยังประเทศกลุ่มยุโรป
• ศาสนาในตุรกี ร้อยละ 99 นับถือศาสนาอิสลาม ที่เหลือเป็นคริสต์นิกายกรีกออร์ทอดอกซ์
คริสต์นิกายจอร์เจียนออร์ทอดอกซ์ คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์
และยิว
• การศึกษา ตุรกีกำหนดให้เด็กทุกคนต้องเข้าโรงเรียนเมื่ออายุได้
7 ปี และศึกษาอยู่ในโรงเรียนภาคบังคับเป็น 8 ปี
จึงมีการสอบระดับประเทศเด็กจบการศึกษาสามารถเลือกเรียนต่อมัธยมในโรงเรียน ของรัฐหรือเอกชน
ซึ่งแบ่งการเรียนการสอนเป็นแบบภาษาตุรกีจะใช้เวลา 3 ปี
และแบบอังกฤษใช้อังกฤษใช้เวลา 4 ปี จากนั้นจึงเป็นการสอบแข่งขันระดับประเทศอีกครั้งเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับ
อุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย ตุรกีมีโรงเรียนประถมประมาณ 45,870 แห่ง โรงเรียนฝึกหัดอาชีพ 1,900 แห่ง และมหาวิทยาลัย
• ภาษา ภาษาราชการคือ ภาษาตุรกี (Turkish) ภาษาอื่นที่ใช้ในประเทศได้แก่
เคิร์ด (Kurdish) และอารบิก ( Arabic)
• การแบ่งเขตการปกครองของตุรกี ตุรกีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น
81 จังหวัด
• การเมืองการปกครอง ตุรกีมีระบบการเมือง เป็นแบบสาธารณรัฐ ที่แยกศาสนาออกจากการเมือง
มีการปกครองแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และนายยกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล
ประธานาธิบดีเป็นประมุขมาจากการเลือกตั้งของสภาแห่งชาติ ดำรงวาระตำแหน่งวาระละ 7
ปี มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี
สถาบันทางการเมือง สภาแห่งชาติเป็นสภาเดียว มีสมาชิกจำนวน 550 คน การเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติกระทำทุก 5 ปี
• ธงชาติ ธงชาติตุรกีเป็นสีแดง มีรูปจันทร์เสี้ยวและดาวสีขาวอยู่กึ่งกลางมีเรื่องเล่าว่าคืนแรกที่สุลต่านองค์แรกของออตโตมันเข้ามายังดินแดน
อนาโตเลีย พื้นดินนองไปด้วยเลืออดแดงฉาน
และมีเงาสะท้อนของจันทร์เสี้ยวกับดาวบนกองเลือด จันทร์เสี้ยวและดาวจึงเป็นสัญญาลักษณ์นับแต่บัดนั้นจนปรากฏอยู่บนธงชาติตุรกีในปัจจุบัน
ส่วนเพลงชาติของตุรกีคือ อิสทิคลัลมาร์ชึ (Istiklal Marsi)สถาบันทางการเมือง สภาแห่งชาติเป็นสภาเดียว มีสมาชิกจำนวน 550 คน การเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติกระทำทุก 5 ปี
• เศรษฐกิจ ตุรกีเป็นประเทศเกษตรกรรม สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอต่อการเลี้ยงคนในประเทศ
ผลผลิตที่สำคัญของประเทศคือ มะกอก ฝ้าย ใบชา ยาสูบ ผลไม้ ผัก ปลา ปศุสัตว์
และยังมีการทำเหมืองแร่ ตลอดจนอุตสาหกรรมหนักบางประเภทซึ่งจะไม่กล่าวถึงในที่นี้
ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญคือ ฝ้าย ขนสัตว์ ยาสูบ ลูกเกด แร่โครเมียม แมงกานีส
และอะไหล่ยนต์ เป็นต้น
• สังคมและวัฒนธรรมตุรกี
• ต้นกำเนิดเชื้อสายตุรกี ในทางมานุษยวิทยาชาวตุรกีส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชนเชื้อสายTurkic หรือ Turk ซึ่งอพยพเข้ามายังอนาโตเลียจากเอเชียกลางในทศวรรษที่ 11 เติร์กเป็นชนชาติเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานย้อนหลังไปได้กว่า 4,000 ปี ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของชนเชื้อสายเติร์ก อยู่ในแถบเทือกเขาอัลไต (Altai Mountain) ในเอเชียกลาง(บริเวณตอนเหนือของประเทศมองโกเลียในปัจจุบัน) ด้วยเหตุนี้ ชนเชื้อสายเติร์กจึงถูกเรียกว่า “Altaic peoples” บันทึกหลักฐานเกี่ยวกับชนเชื้อสายเติร์กได้ปรากฎในบันทึกของจีน ในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ซึ่งกล่าวถึงชนเร่ร่อนที่อาศัยอยู่ในแถบเทือกเขาอัลไต ซึ่งจีนเรียกชนตเร่ร่อนกลุ่มนี้ว่า “Hsiung-nu” หรือ “Hun” (ตามการอ้างอิงของตะวันตก)
• ต้นกำเนิดเชื้อสายตุรกี ในทางมานุษยวิทยาชาวตุรกีส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชนเชื้อสายTurkic หรือ Turk ซึ่งอพยพเข้ามายังอนาโตเลียจากเอเชียกลางในทศวรรษที่ 11 เติร์กเป็นชนชาติเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานย้อนหลังไปได้กว่า 4,000 ปี ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของชนเชื้อสายเติร์ก อยู่ในแถบเทือกเขาอัลไต (Altai Mountain) ในเอเชียกลาง(บริเวณตอนเหนือของประเทศมองโกเลียในปัจจุบัน) ด้วยเหตุนี้ ชนเชื้อสายเติร์กจึงถูกเรียกว่า “Altaic peoples” บันทึกหลักฐานเกี่ยวกับชนเชื้อสายเติร์กได้ปรากฎในบันทึกของจีน ในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ซึ่งกล่าวถึงชนเร่ร่อนที่อาศัยอยู่ในแถบเทือกเขาอัลไต ซึ่งจีนเรียกชนตเร่ร่อนกลุ่มนี้ว่า “Hsiung-nu” หรือ “Hun” (ตามการอ้างอิงของตะวันตก)
• การขุดค้นทางโบราณคดีในประเทศมองโกเลียเมื่อไม่นานมานี้ปรากฏหลักฐานยืน ยันชัดเจนว่า
ชาวเติร์กมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบมองโกเลียในปัจจุบัน ซึ่งเคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมของชนเชื้อสายเติร์ก
เรื่อยมาจนกระทั่งในราวศตวรรษที่ 6 ชนเชื้อสายเติร์กได้เริ่มอพยพออกจากบริเวณเทือกเขาอัลไตและได้แยกย้ายกันไป
ตั้งถิ่นฐานในดินแดนต่างๆ ครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างถึงประมาณ 18 ล้านตารางกิโลเมตร สาเหตุของการเคลื่อนย้ายอพยพดังกล่าวเชื่อกันว่า มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการเช่น
การเพิ่มของจำนวนประชากร เช่น
การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทำให้ต้องมีการแสวงหาพื้นที่ทำกินเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศในเอเชียกลางและปัญหา
กระทบกระทั่งกับเพื่อนบ้านที่เข้มแข็งกว่า
• ชาวเติร์กแต่เดิมเป็นชนเร่ร่อนจึงมีการแบ่งแยกออกเป็นหลายเผ่า ตามที่ปรากฏในตราประจำตำแหน่งประธานาธิบดีของตุรกีซึ่งเป็นรูปดาวขนาดเล็ก
16 ดวง ล้อมรอบดวงดาวขนาดใหญ่ซึ่งอยู่ตรงกลางดาวทั้าง 16 ดวง นี้เป็นสัญลักษณ์แทนอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของชนเชื้อสายชาวเติร์ก
16 อาณาจักร เริ่มตั้งแต่อาณาจักร Hun ซึ่งก่อตั้งในศตวรรษที่
13 หากพิจารณาตามชาติพันธุ์วิทยาแล้ว
ชาวตุรกีควรจะมีหน้าตาคล้ายคลึงกับชาวเติร์กในประเทศเอเชียกลางได้แก่ ประเทศคาซัคสถาน
อุซเบกิซสถาน เติร์กเมนิสถาน และครีกีซสถาน ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับคนมองโกเลีย
• อย่างไรก็ดี ชาวตุรกีในปัจุบันมีรูปร่างหน้าตาไม่ค่อยจะเหมือนชาวเติร์กในเอเชียกลาง
เท่าใดนัก ทั้งนี้ อาจเพราะมีการแต่งงานข้ามชาติพันธุ์
ในช่วงที่บรรพบุรุษของชาวตุรกีในปัจจุบัน อพยพมาจากเอเชียกลางมาทางทิศตะวันตกจนกระทั่งมาตั้งหลักปักฐานลงในอนาโตเลีย
ศตวรรษที่ 11 ไม่มีหลักฐานแน่ชัดพอที่จะระบุไว้ ชนเก่าแก่ที่เคยอาศัยอยู่ในอนาโตเลียก่อนที่เติร์กจะเข้ามา
เช่น ฮิตไตต์ ฟรีเกีย ลิเดีย ลิเซีย อูราทู และชนกลุ่มอื่นๆ มีจำนวนหลงเหลืออยู่สักเท่าใด
อาณาจักรของชนเหล่านี้แจะล่มสลายไป แต่ผู้คนในอาณาจักรเหล่านี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องสูญสลายหายตามไปด้วย
• ภายหลังตุรกีได้ลงหลักปักฐานอย่างมั่นคงในอนาโตเลียแล้ว ก็เริ่มแผ่ขยายอำนาจไปยังดินแดนต่างๆ
ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไบแซนไทน์ จักรพรรดิ์ไบเซนไทน์ในยุคหลังๆ พยายามที่จะผูกไมตรีกับเติร์ก
เพื่อความอยู่รอดของตนเอง ในปี ค.ศ. 1345 สุลต่านออร์ฮัน (Orhan)
พระราชโอรสของสุลต่านออสมัน ผู้สถาปนาอาณาจักรและราชวงศ์ออตโตมัน ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงธิโอโดรา
พระราชธิดาของจักรวรรดิ John Cantacuzenus แห่งไบเซนไทน์
สุลต่านออร์ฮัน ทรงเป็นพระราชวงศ์ออตโตมันพระองค์แรกที่ได้พระชายาเป็นชนชั้นสูงของไบเซนไท
น์ ภายหลังที่อาณาจักรออตโตมันได้แผ่ขยายอำนาจไปยังดินแดนต่างในยุโรปบอลข่าน และยุโรปตะวันออก
การแต่งงานระหว่างชาวออตโตมันเติร์กกับชาวยุโรปกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้น ตั้งแต่ระดับชนชั้นสูง
• นอกจากแต่งงานข้ามสายพันธุ์แล้ว พลเมืองในยุโรปที่ตกเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิออตโตมัน
เช่น ยุโรปบอลข่าน จำนวนไม่น้อยได้หันมานับถือศาสนาอิสลาม เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งออตโตมันเรียกเก็บจากคนที่มิใช่มุสลิม
ในอัตราที่สูงกว่าที่เก็บจากคนที่เป็นมุสลิมถึงร้อยละ 50 ชาวยุโรปเหล่านี้จำนวนไม่น้อยตัดสินใจหันมานับถือศาสนาอิสลาม
เพื่อที่จะไม่ต้องเสียภาษีดังกล่าวและมีโอกาสทำงานราชการกับออตโตมัน ชาวยุโรปเหล่านี้จึงได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมุสลิมออตโตมัน
ประวัติศาสตร์
คาบสมุทรอานาโตเลีย
(หรือที่เรียกว่าเอเชียไมเนอร์) ซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตุรกี
เป็นดินแดนที่มีการตั้งถิ่นฐานอย่างต่อเนื่องมายาวนานเพราะอยู่ในตำแหน่งที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชียและยุโรป
ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานในตอนต้นของยุคหินใหม่ เช่น ชาตัลเฮอยืค
(Çatalhöyük), ชาเยอนู (Çayönü), เนวาลี
โจลี (Nevali Cori), ฮาจิลาร์ (Hacilar), เกอเบกลี เทเป (Göbekli Tepe) และ เมร์ซิน (Mersin)
นับได้ว่าเป็นการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดในโลก การตั้งถิ่นฐานในเมืองทรอยเริ่มต้นในยุคหินใหม่และต่อเนื่องไปถึงยุคเหล็ก ในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ ชาวอานาโตเลียใช้ภาษาอินโดยูโรเปียน, ภาษาเซมิติก และภาษาคาร์ตเวเลียน และยังมีภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษา
นักวิชาการบางคนเสนอว่าอานาโตเลียเป็นศูนย์กลางที่ภาษากลุ่มอินโดยูโรเปียนนั้นกระจากออกไป
จักรวรรดิแห่งแรกของบริเวณอานาโตเลียคือจักรวรรดิของชาวอิไตต์ ซึ่งรุ่งเรืองขึ้นประมาณศตวรรษที่ 18 ถึง 13 ก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น
อาณาจักรฟรีเจียซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองกอร์ตีอุมมีอำนาจขึ้นมาแทนจนกระทั่งถูกทำลายโดยชาวคิมเมอเรียในศตวรรษที่
7 ก่อนคริสตกาล แต่ชาวคิมเมอเรียก็พ่ายแพ้ต่ออาณาจักรลีเดียซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองซาร์ดีสในเวลาต่อมา
ลีเดียเป็นอาณาจักรที่ร่ำรวยและเป็นผู้คิดค้นเหรียญกษาปณ์
ประมาณ
1200 ปีก่อนคริสตกาล
ชายฝั่งตะวันตกของอานาโตเลียถูกครอบครองโดยชาวกรีกไอโอเลียนและอีโอเนียน
ชาวเปอร์เซียแห่งจักรวรรดิอาเคเมนิดสามารถพิชิตพื้นที่ทั้งหมดได้ในศตวรรษที่ 6
ถึง 5 ก่อนคริสตกาล
แต่หลังจากนั้นดินแดนแห่งนี้ก็ตกเป็นของอเล็กซานเดอร์มหาราช ในปี 334 ก่อนคริสตกาล อานาโตเลียจึงถูกแบ่งออกเป็นดินแดนเฮลเลนิสติกขนาดเล็กหลายแห่ง
(รวมทั้ง บิทูเนีย คัปปาโดเกีย แพร์กามอน และพอนตุส) ซึ่งดินแดนเหล่านี้ตกเป็นของจักรวรรดิโรมันในกลางศตวรรษที่
1 ก่อนคริสตกาล ในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เลือกเมืองไบแซนเทียมให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของจักรวรรดิโรมัน
และตั้งชื่อให้ว่า โรมใหม่ (ภายหลังกลายเป็นคอนสแตนติโนเปิล และอิสตันบูล) หลังจากที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกเสื่อมลง
เมืองนี้ก็กลายเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์
สมัยเติร์กและจักรวรรดิออตโตมัน
สุเหร่าสุลต่านอาห์เหม็ด (สุเหร่าสีน้ำเงิน)
เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของอาณาจักรออตโตมัน
ตระกูลเซลจุกเป็นสาขาหนึ่งของโอกุสเติร์ก ซึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 9 อาศัยอยู่บริเวณตอนเหนือของทะเลแคสเปียนและทะเลอารัล ในคริสต์วรรษที่ 10 พวกเซลจุกเริ่มอพยพออกจากบ้านเกิดมาทางตะวันออกของอานาโตเลีย
ซึ่งในที่สุดกลายเป็นดินแดนแห่งใหม่ของเผ่าโอกุสเติร์ก
หลังจากสงครามแมนซิเกิร์ตในปี 1071 ชัยชนะของเซลจุกในครั้งนี้ทำให้เกิดสุลต่านเซลจุกในอานาโตเลีย
ซึ่งเป็นเสมือนอาณาจักรย่อยของอาณาจักรเซลจุกซึ่งปกครองบางส่วนของเอเชียกลาง
อิหร่าน อานาโตเลีย และตะวันออกกลาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น