วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

สตรีไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน

บทบาทของสตรีไทย
          
   
    สตรีไทยมีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่อดีต  ในทางการเมืองสตรีไทยในประวัติศาสตร์หลายคนได้มีบทบาทในการสร้างชาติไทย  เช่น  พระสุพรรณกัลยา  พระพี่นางของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ทรงเสียสละพระองค์เป็นองค์ประกันที่เมืองหงสาวดี  เพื่อแลกกับอิสรภาพของสมเด็จพระนเรศวรที่จะมากอบกู้เอกราชให้กับกรุง ศรีอยุธยาในวันข้างหน้า
          ในสมัยรัตนโกสินทร์  สตรีไทยหลายคนได้มีบทบาทในการต่อสู้ทำสงครามเพื่อปกป้องบ้านเมือง  เช่น  คุณหญิงจัน  ภรรยาเจ้าเมืองถลาง (ภูเก็ต)  และนางมุกน้องสาว  ได้นำชาวบ้านเมืองถลางต่อสู้ต้านทานกองทัพพม่าเมื่อครั้งสงครามเก้าทัพในสมัยรัชกาลที่ 1  มีความดีความชอบจนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทรตามลำดับ
          ในสมัยรัชกาลที่ 3  คุณหญิงโม  ภรรยาของปลัดเมืองนครราชสีมา  ได้ใช้อุบายโดยให้หญิงชาวบ้านเลี้ยงสุราอาหารแก่ทหารลาว  ทำให้กองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ตายใจและปล่อยปละละเลยความปลอดภัย ของค่ายทัพ  เมื่อได้โอกาสก็นำอาวุธเข้าต่อสู้กับทหารฝ่ายลาวจนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากและ แตกทัพหนีไป  ทำให้ฝ่ายไทยสามารถเอาชนะได้  ต่อมาคุณหญิงโมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นท้าวสุรนารี
          นอกจากนี้  เจ้านายสตรีบางพระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  ครั้งแรกคือ  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอัครราชเทวีเป็นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระบรมราชินีนาถ  ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 พ.ศ. 2440  และครั้งที่ 2  เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกผนวชเมื่อ พ.ศ. 2499  ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ  เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
          ในสมัยปัจจุบัน  มีสตรีไทยจำนวนมากได้มีบทบาททางการเมือง  เช่น  เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  รัฐมนตรี  นอกจากนี้ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนยังมีสตรีที่ดำรงตำแหน่งสำคัญ  เช่น  ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย  ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  เป็นต้น
         
ใน ด้านสังคมและวัฒนธรรม  สตรีไทยหลายท่านมีบทบาทด้านการประพันธ์  เช่น กรมหลวง นรินทรเทวี  (เจ้าครอกวัดโพ)  พระน้องนางเธอในรัชกาลที่ 1  ทรงประพันธ์จดหมายเหตุความทรงจำ  บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2310 ก่อนกรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าจนถึง พ.ศ. 2363  ในช่วงกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  นับเป็นการบันทึกข้อมูลประวัติศาสตร์ที่สำคัญสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
          นอกจากนี้  คุณพุ่มหรือบุษบาท่าเรือจ้าง  ธิดาของพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี)  เป็นกวีหญิงที่มีความรู้ความสามารถ  เป็นศิษย์คนสำคัญของสุนทรภู่  และคุณสุวรรณ  ธิดาพระยาอุไทยธรรม (สกุล ณ บางช้าง)  และเป็นข้าหลวงกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ  ก็ได้เป็นศิษย์ของสุนทรภู่ด้วยเช่นกัน  ผลงานที่สำคัญ  เช่น  เพลงยาวจดหมายเหตุเรื่องกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพประชวร  บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ  และบทละครเรื่องอุณรุทร้อยเรื่อง  ดอกไม้สดประพันธ์เรื่องชัยชนะของหลวงนฤบาลผู้ดี  และจิรนันท์  พิตรปรีชา  ได้รับรางวัลกวีซีไรต์  เป็นต้น
ถ้าผู้หญิงเข้ามามีบทบาททางการเมือง สังคมจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ส่วน ตัวเชื่อว่าบทบาทผู้หญิงจะช่วยลดความรุนแรงและความขัดแย้งของโลกนี้ได้แต่ ไหนแต่ไรมาโลกใบนี้ถูกออกแบบโครงสร้างการปกครองต่าง ๆ โดยผู้ชายมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบต่างๆ ผู้ชายก็เป็นคนร่างขึ้นจากความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ผู้ชายเน้นหลักเหตุผล กฎหมายระเบียบส่วนใหญ่ก็ใช้เหตุผลและตรรกะเป็นหลัก ละเลยมิติทางความรู้สึกไปประเด็นเล็กๆน้อยๆ เหล่านี้ที่ถูกสะสมมาเป็นพันๆ ปี ทำให้โลกนี้ถูกออกแบบมาอย่างไม่สมดุลบางครั้งความเป็นหญิงน่าจะเข้ามาตัด เย็บกติกาใหม่เพื่อให้เข้ากับชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมบนฐานความเป็น จริงมากขึ้น
อย่างกรณีสุขภาพของผู้หญิงกับการทำงาน8 ชั่วโมง แน่นอนว่าสรีระร่างกายของผู้หญิงย่อมสู้ผู้ชายไม่ได้อยู่แล้ว ตรงนี้ก็ไม่ได้มีการออกแบบกฎหมายเพื่อมารองรับ ผู้หญิงจึงเจ็บป่วยจากการทำงานเยอะมาก
กฎกติกาเพื่อผู้หญิง ไม่ขัดกับหลักการความเท่าเทียม
กลุ่ม เคลื่อนไหวสิทธิสตรีก็เคยตั้งคำถามประมาณนี้เหมือนกันถามถึงคำว่า"ความเท่า เทียม" แน่นอนย่อมไม่มีทางเท่าเทียมระหว่างหญิงกับชายได้ แต่เรากำลังต้องการให้เกิดคำว่า"ความเสมอภาค" ระหว่างชายกับหญิงที่จะมีโอกาสต่าง ๆ มากกว่าจะเน้นพัฒนาร่างกายหรือศักยภาพให้เท่าเทียมกันแต่ควรให้ทั้งหญิงและ ชายมีโอกาสให้เข้าไปอยู่ในระดับการตัดสินใจในทุกระดับของสังคมสัดส่วนเท่าๆ กัน
ปัญหาสตรีในเมืองไทยเป็นอย่างไร
ปัญหาเกี่ยวกับผู้หญิงมีเยอะมาก บางประเด็นก็เกี่ยวข้องกับมิติวัฒนธรรมด้วย แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ความรุนแรงภายในครอบครัว (Domestic Violence) จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าในทุก 4 นาทีจะเกิดปัญหานี้1 ครั้ง แต่ละปีมีจำนวนประมาณ 7 หมื่นกว่าครั้งที่เป็นการทำร้ายผู้หญิง ดังนั้นการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ก็ต้องฟังเสียงจากผู้หญิงด้วยกัน"
มุมมองบทบาทผู้หญิงกับการเมืองไทยในสภาเมื่อเทียบกับต่างประเทศ
ก่อนอื่นต้องดูทั้งเรื่องปริมาณและคุณภาพสำหรับปริมาณผู้หญิงในสภาของไทยยังมีจำนวนน้อยมาก นอกจากมีนายกฯหญิงแล้ว ก็มีรัฐมนตรีหญิงเพียงคนเดียว (ศันสนีย์ นาคพงศ์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ) อย่างนี้ก็เรียกว่าไม่เสมอภาคกันแล้ว  "สภาไทยต้องมีปริมาณผู้หญิงในระดับการตัดสินใจมากกว่านี้ ซึ่งตอนนี้ผู้แทนผู้หญิงในสภามีแค่ 15% ขณะที่ในหลายประเทศมีเกิน 50% ไปแล้ว เช่น ในสภาของสวีเดน หรือสวิตเซอร์แลนด์"  ส่วนเรื่องคุณภาพ ไม่ใช่ว่าผู้ชายทำงานไม่ดี แต่ถึงเวลาแล้วที่ผู้หญิงจะเข้ามาช่วยเสริมเติมความละเอียดอ่อนให้สังคมมากขึ้น ต้องเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทั้งคุณภาพและปริมาณไปพร้อม ๆ กัน เพื่อปูทางสร้างผู้นำหญิงให้แก่สังคมในอนาคต สังคมไทยต้องเรียนรู้เรื่องนี้กันแล้ว
กลุ่มสิทธิสตรีเคลื่อนไหวนอกสภาในเมืองไทย
ประเทศไทยมีนักเคลื่อนไหวหญิงที่ทำงานภาคประชาชนเข้มแข็งมากอย่างน้อยเห็นตัวอย่าง จากความก้าวหน้าในรัฐธรรมนูญที่มีกฎหมายหลายฉบับเกี่ยวกับผู้หญิง พูดเรื่องสัดส่วนระหว่างหญิงกับชาย นั่นก็แสดงว่ากลุ่มที่เคลื่อนไหวด้านนี้มีพลังมากจนนำคำพูดเหล่านี้ใส่เข้า ไปในรัฐธรรมนูญได้
เลือกตั้งสมัยหน้า หากนายกฯไม่ใช่ผู้หญิง การพัฒนาบทบาทสตรีจะสะดุดหรือไม่
อยาก ให้มองทุกอย่างที่เกิดขึ้นคือการเรียนรู้ ถ้าเกิดความเปลี่ยนแปลงหลังจากนี้แล้วเปลี่ยนกลับไปเป็นผู้นำชายอีก ก็เป็นเรื่องดีที่จะได้นำมาเปรียบเทียบระหว่างลักษณะหญิงหรือชายจะช่วยอย่าง ไรบ้าง ถ้าได้ผู้นำชายก็สามารถนำความเป็นหญิงเข้ามาช่วยบริหารประเทศได้  ประเด็นเรื่องผู้หญิงต้องมีการพูดคุยมากขึ้นคงไม่หยุดยั้งเพียงเท่านี้ เรายังคงต้องการจำนวนผู้หญิงที่เข้ามามีส่วนในการตัดสินใจให้มากกว่านี้ ถึงจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในระดับประเทศได้แต่ถ้าเกิดได้นายกฯหญิงเป็นผู้นำ อีกสมัยเหมือนในเยอรมนี หรือออสเตรเลีย
ชาวต่างชาติมองพัฒนาการสิทธิสตรีเมืองไทยอยู่ระดับใด
เท่าที่ได้ฟังเสียงมาจากหลายประเทศ ทั้งผู้นำ นักการทูต และสื่อต่างชาติ ค่อนข้างชื่นชอบประเทศไทยในลักษณะการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ถึงแม้ไทยต้องเผชิญวิกฤตภายในประเทศมากมาย แต่วันนี้เราได้ผู้นำหญิงแล้ว ขณะที่สหรัฐยังทำไม่ได้เลย รวมถึงผู้นำหญิงของประเทศไทยอยู่บนเวทีเศรษฐกิจจำนวนเยอะมาก เมื่อเทียบกับประเทศฝั่งอเมริกาและยุโรป
"ไทยกลายเป็นต้นแบบเรื่องนี้แล้ว ซึ่งตอนนี้ต่างประเทศกลับอยากฟังความคิดเห็นของคนไทยมากว่า ทิศทางอาเซียนจะไปทางไหน เพราะเห็นศักยภาพของไทยก้าวเป็นผู้นำอาเซียนได้ ทั้งมีต้นทุนเยอะ ต่างชาติชื่นชมทรัพยากรมนุษย์ของเรามาก ด้วยความที่คนไทยเป็นคนละเอียดอ่อนรอบคอบ (Attention to Details) ขณะที่ต่างชาติต้องเสียเงินแพง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องนี้ ทำให้ประเทศไทยยังไปไกลกว่านี้ได้มาก"
 
อ้างอิง
 
        พิพิธิภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวhttps://www.facebook.com/kingprajadhipokmuseum

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น