ในช่วงปี พ.ศ. 1906 – 2025
เนเธอร์แลนด์อยู่ภายใต้การปกครองของดยุคแห่งเบอร์กันดี และในศตวรรษที่ 16
เนเธอร์แลนด์ถูกปกครองโดยสเปน ต่อมาเจ้าชายวิลเลียมแห่งออเรนจ์และขุนนางจำนวนหนึ่ง
ได้ก่อการปฏิวัติต่อสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน
เพื่อเรียกร้องให้ประชาชนเนเธอร์แลนด์และได้สถาปนาสาธารณรัฐดัตช์และ
สามารถนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ได้ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2191 (ค.ศ. 1648)
จึงได้มีการลงนามในสนธิสัญญามุนสเตอร์ เพื่อสงบศึกระหว่างเนเธอร์แลนด์และสเปน
ซึ่งดำเนินมาถึง 80 ปี และถือเป็นการประกาศเอกราชของเนเธอร์แลนด์ด้วย
หลังจากได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิสเปน
ชาวดัตช์ได้ร่วมกันฟื้นฟูประเทศจนในที่สุดได้เข้ามาสู่ยุคทอง เช่นเดียวกับ สเปน
โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นมหาอำนาจทาง
ทะเลในการแสวงหาโอกาสทางการค้าในดินแดนต่างๆ ของโลก
เนเธอร์แลนด์เป็นมหาอำนาจทางทะเลและเศรษฐกิจชั้นนำของยุโรปในเวลานั้น
และกรุงอัมสเตอร์ดัมก็ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางการเงินของยุโรป
จนมีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนถือให้เนเธอแลนด์เป็นประเทศระบอบทุนนิยมประเทศแรกของโลก
เมื่อปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795)
กองทัพปฏิวัติฝรั่งเศสนำโดยพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ได้กรีฑาทัพเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์
และในปี พ.ศ. 2353 (ค.ศ. 1810)
เนเธอร์แลนด์ก็ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฝรั่งเศส
ต่อมาเมื่อจักรวรรดิฝรั่งเศสเสื่อมอำนาจลงเนเธอร์แลนด์จึงได้รับเอกราชคืนมาอีกครั้งในปี
พ.ศ. 2357 (ค.ศ. 1814) โดยมีเบลเยียมเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ อย่างไรก็ดี
เนื่องจากความแตกต่างในทุก ๆ ด้านระหว่างเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม ประเทศทั้งสอง
จึงได้แยกออกจากกันอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839)
เนเธอร์แลนด์ประกาศความเป็นกลางในช่วงสงครามโลกครั้งที่
1 ระหว่างปี พ.ศ. 2457 –
2461 และประกาศความเป็นกลางอีกครั้งหนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
อย่างไรก็ดี กองทัพเยอรมนีได้รุกรานและยึดครองเนเธอร์แลนด์ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.
2483 – 2488
ปัจจุบันเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกที่มีบทบาทแข็งขันในสหภาพยุโรป
และองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต
เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศเจ้าอาณานิคมจนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่
2 โดยอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชจากการเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์เมื่อปี พ.ศ.
2492 (ค.ศ. 1949) และซูรินาเมประกาศเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954)
ส่วนเนเธอร์แลนด์อัลไทลิส และอารูบายัง คงเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์
โดยมีอธิปไตยในการบริหารกิจการภายในประเทศ
ส่วนด้านการทหารและการต่างประเทศยังอยู่ภายใต้ความควบคุมดูแลโดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์
อันที่จริง ชื่อ ฮอลแลนด์นั้นเป็นชื่อแคว้น
แคว้นๆหนึ่ง ในเนเดอร์แลนด์ (เหมือนคนไทยเรียกเมืองบางกอก แล้วฝรั่งเรียกแบงคอก)
แต่ความที่แค้วน ฮอลแลนด์ อยู่บนคาบสมุทรแถบทะเลเหนือ ทำให้มีนักเดินเรือเยอะ
ไปถิ่นไหนพอมีคนถามว่าเป็นคนที่ไหน ก็บอกเป็นชาวฮอลแลนด์
เหมือนคนไทยถามไถ่คนต่างถิ่นว่าหัวนอนปลายตีนเป็นคนที่ไหน ก็จะตอบว่า เป็นคย ยุดยา
คนผักไห่ คนอ่างทอง อะไรทำนองนั้น
จนฮอลันดาได้ชื่อว่า เป็นที่ก่อกำเนิดลัทธิ ทุนนิยมแห่งแรกของโลก
ภูมิศาสตร์ของฮอลันดา
ภาวะเศรษฐกิจและการค้าของฮอลันดา
ภูมิศาสตร์ของฮอลันดา
สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบกว้างใหญ่
พื้นที่ส่วนใหญ่เคยเป็นน้ำทะเลมาก่อนดังนั้นประเทศนี้จึงอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
มีเพียงทางตะวันออกเฉียงใต้ในเขตลิมเบิร์ก เท่านั้นสามารถพบเห็นเนินเขาได้ แม่น้ำไรน์ที่ไหลมาจากเยอรมนี
เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศ
เนื่องจากเป็นประเทศต่ำกว่าระดับน้ำทะเลจึงทำให้ต้องสร้างเขื่อน
เพื่อไม่ให้นำทะเลไหลท่วมได้ เนื่องจากเนเธอร์แลนด์มีที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลเหนือ
จึงได้รับอิทธิพลของกระแสน้ำอุ่นด้วย ทำให้ภูมิอากาศของประเทศอบอุ่นกว่าประเทศอื่นๆในยุโรป
และมีฝนตกชุกในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง มากถึง 700 มิลลิเมตรต่อปี
ชาวเนเธอร์แลนด์
เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการค้ามาช้านาน ทั้งการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง
และการค้ากับประเทศในภูมิภาคอื่นของโลก
สาเหตุที่ทำให้เชี่ยวชาญด้านนี้มีองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน ที่สำคัญคือ
ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่านมาจากหลายประเทศในยุโรป
ไปออกทะเลที่ประเทศของตน ทำให้หลายเมืองของเนเธอร์แลนด์ กลายเป็นท่าเรือ ที่สำคัญ
คือ ท่าเรือรอตเทอร์ดาม (Rotterdam)
ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่และมีความสำคัญทางด้านการค้าระหว่าง
ประเทศมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกจึงเปิดโอกาสให้ชาวเนเธอร์แลนด์ทำการค้าได้ สะดวก
ประการถัดมา จากการอยู่ใกล้ทะเล
ทำให้มีโอกาสได้เห็นการค้าทางเรือผ่านไปมาเสมอ
ทำให้เป็นแรงบรรดาลใจให้สนใจทำการค้า รวมทั้งการค้าขายทางเรือตามไปด้วย
เพราะสามารถไปได้ไกล ๆ จนมีการค้ากับประเทศในแถบเอเชียและอเมริกามาแต่สมัยโบราณ
ยิ่งไปกว่านั้น การที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก
ชาวดัตช์ต้องอาศัยการเกษตรกรรม การประมง เลี้ยงสัตว์ ไม่มีแร่ธาตุสำคัญ (น้ำมัน
และกาซธรรมชาติมาค้นพบในระยะหลังๆ) ดังนั้น จึงต้องอาศัยการค้าเป็นหลัก
เพื่อความอยู่รอด จนได้รับการขนานนามว่าเป็นชาตินักการค้า (Trading nation) และประสบความสำเร็จในด้านการค้ามาตลอด
ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ความเชี่ยวชาญด้านการค้านั้น
ดูได้จากการค้าระหว่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น
และได้เปรียบดุลการค้ามาตลอดหลายปีติดต่อกัน
จากบันทึกของสารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 2002
ระหว่างครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 พ่อค้าจากซาเล็ม, แมสซาชูเซตส์ได้ผลกำไรเป็นอันมากจากการค้าขายกับสุมาตรา[30] ราชอาณาจักรอเซห์ (Aceh) ที่ตั้งอยู่ตอนปลายของเกาะสุมาตรากลายมาเป็นผู้มีอำนาจในการค้าขายเครื่องเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อชนอเซห์ต่อต้านการรุกรานของดัตช์โดยหันไปเป็นพันธมิตรกับผู้ค้าขายจากซาเล็ม[31] ในปี ค.ศ. 1818 การค้าขายระหว่างซาเล็มและสุมาตราก็เกิดขึ้นหลายครั้งอย่างไม่มีเหตุการณ์สำคัญใดใด[32] มาจนกระทั่งเมื่อถูกโจมตีโดยโจรสลัดเข้าหลายครั้ง ซึ่งทำให้เกิดข่าวลือกันไปต่าง ๆ ในวงผู้ค้าขายถึงอันตรายของนักเดินเรือชาวอินเดียและชาวยุโรปที่ประสบจากน้ำ มือของโจรสลัดในบริเวณนั้น[32] สหรัฐอเมริกาแก้ปัญหาโดยใช้มาตรการการลงโทษหลังจากที่ผู้ ค้าขายจากนิวอิงแลนด์ประสบภัยจากโจรสลัดและหลังจากกะลาสีของเรือสินค้าห้าคน ถูกสังหารซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์อันร้ายแรงที่มีผลกระทบกระเทือนต่อความ สัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสุมาตราและซาเล็ม
ฮอลันดา หรือฮอลแลนด์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
เนเธอร์แลนด์
เป็นดินแดนแห่งหนึ่งในทวีปยุโรปที่เคยอยู่ใต้การปกครองของพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน ก่อนหน้านี้ชาวดัตซ์ได้ทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางในการค้าเครื่องเทศในยุโรปมาโดยตลอด
โดยส่งเรือสินค้าไปรับเครื่องเทศจากโปรตุเกสที่ท่าเรือลิสบอน
แต่เมื่อฮอลันดาได้ก่อกบฏและแยกตัวเป็นอิสระใน ค.ศ.1580
ห้ามไม่ให้พ่อค้าดัตซ์เข้าไปซื้อเครื่องเทศในตลาดโปรตุเกสอีกต่อไป
นโยบายดังกล่าวจึงเท่ากับบีบบังคับให้ฮอลันดาต้องหาเส้นทางเพื่อติดต่อซื้อเครื่องเทศโดยตรงกับอินดิสตะวันออกของโปรตุเกส
ในไม่ช้ากองทัพเรือที่เข้มแข็งของฮอลันดาก็สามารถยึดครองอำนาจการค้าเครื่องเทศของโปรตุเกสได้ใน
ค.ศ.1598 ฮอลันดาได้จัดตั้งสถานีการค้าในเกาะชวา และอีก 4 ปีต่อมาได้จัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาขึ้นเพื่อควบคุมการค้าใน
หมู่เกาะเครื่องเทศ การครอบครองหมู่เกาะเครื่องเทศของฮอลันดามีผลกระทบที่สำคัญอีกประการหนึ่ง
คือ ใน ค.ศ.1606
บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาได้ส่งวิลเล็ม เจนซ์ (Willem Jansz) คุมเรือ ดุฟเกน (Duyfken) จากบันดา (Banda) เพื่อ ค้นหาเกาะทองคำที่เชื่อว่าอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันออกของเกาะชวา
การเดินเรือครั้งนี้ทำให้เจนซ์
และลูกเรือชาวดัตซ์เป็นคนขาวกลุ่มแรกที่ได้เห็นทวีปอสเตรเลียและทำให้ฮอลันดาได้รับการยกย่องว่าเป็นชาติแรกที่ค้นพบทวีปออสเตรเลีย
แม้ว่าเดิมฮอลันดาเดินทางมายังตะวันออกเพื่อความมุ่งหมายทางการค้าเป็นสำคัญ
แต่ภายหลังฮอลันดาก็เปลี่ยนนโยบายโดยยึดเอาดินแดนที่ตนครอบครองไว้ให้อยู่ใน ฐานะเป็นอาณานิคม
สาเหตุของการสำรวจเส้นทางเดินเรือ
ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา(ค.ศ.1350-1650) ชาวยุโรปได้หันมาสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวอีกครั้งหนึ่ง
การติดต่อกับโลกตะวันออกในสงครามครูเสด (ค.ศ.1096-1291)ซึ่งเป็นสงครามศาสนาระหว่างคริสต์ศาสนิกชนตะวันตกกับพวกมุสลิมในตะวันออกกลาง
และการฟื้นตัวของเมืองที่เกิดขึ้นในระยะวลาใกล้เคียงกัน
ทำให้ชาวยุโรปมีโอกาสสัมผัสกับอารยธรรมของโลกตะวันออก
วิชาความรู้ต่างๆโดยเฉพาะทางด้านปรัชญา คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์
และวิทยาการอื่นๆของกรีกและมุสลิมที่หลั่งไหลมาสู่สังมตะวันตก ทำให้ปัญญาชนเริ่มทบทวนและตรวจสอบความรู้ของตนมากขึ้น
ตลอดจนท้าทายแนวความคิดทางธรรมชาติและจักรวาล
วิทยาของคริสย์ศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาในสมัยกลาง
ตำนานเกี่ยวกับสัตว์ร้ายในโพ้นทะเลที่คอยจ้องทำลายเรือเดินทะเล
หรือความเชื่อว่าโลกแบนนและเรือที่แล่นไปในท้องทะเลที่เวิ้งว้างอาจตกขอบโลกได้นั้นกลายเป็นเรื่องราวที่เหลวไหลไร้สาระ
บรรยากาศของการแสวงหาและค้นหาคำตอบให้กับตนเองกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวได้
ผลักดันให้ชาวยุโรปในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาหันมาสนใจต่อความลี้ลับของท้องทะเลที่กั้นขวางพวกเขากับโลกของชาวตะวันออก
โดยเฉพาะความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของ โตเลมี (Ptolemy) นัก
ดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก
ที่แสดงให้เห็นถึงที่ตั้งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนดินแดนริมฝั่งทะเลของคาบ
สมุทรไอบีเรียเรื่อยลงไปทางตอนใต้จนถึงดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลที่ขยายไปถึง
อินเดียและจีน ส่วนทางตะวันตกของทวีปยุโรปและทางตะวันออกของจีนนั้นก็เป็นทะเลทั้งหมด
และทะเลดังกล่าวนี้ก็ติดต่อเชื่อมโยงถึงกันหมด
นอกจากนี้ยังมีผืนดินทางโลกใต้ซึ่งแผ่จากขั้วโลกใต้จนถึงเขตร้อน
และมีอาณาเขตกว้างขวางทำนองเดียวกับแผ่นดินทางซีกโลกเหนือ
ความสนใจดังกล่าวได้ทวีมากขึ้น เมื่อพวกมุสลิมสามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล(ปัจจุบัน
คือ นครอิสตันบูลในประเทศตุรกี)และดินแดนจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้ทั้งหมด ในค.ศ.1453
ซึ่งมีผลกระทบให้การค้าทางบกระหว่างตะวันตกชะงักงั้น
แต่สินค้าต่างๆจากตะวันออก เช่น ผ้าไหม เครื่องเทศ ยารักษาโรค
น้ำตาลยังเป็นที่ต้องการของตลาดตะวันตกและสามารถทำกำไรอย่างสูงให้แก่พ่อค้า
ดังนั้น หนทางเดียวที่พ่อค้าจะสามารถรักษาและตักตวงผลประโยชน์ดังกล่าวไว้ได้ก็คือ
การติดต่อค้าขายทางทะเลเท่านั้น นอกจากนี้
ความรู้ในการใช้เข็มทิศและการพัฒนารูปทรงและขนาดเรือให้มีความเหมาะสมและมีความคงทนแน่นหนาขึ้น
พร้อมติดตั้งอาวุธปืนใหญ่ ทำให้ชาติตะวันออกต่างๆต้องยินยอมเปิดสัมพันธไมตรีด้วย
และมีผลให้อิทธิพลของชาติตะวันตกหลั่งไหลสู่โลกตะวันออกได้อย่างกว้างขวาง
นอกจากเครื่องเทศที่เป็นสินค้าหลักที่พ่อค้าตะวันตกต้องการเพื่อใช้เก็บถนอมอาหาร
โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ให้มีอายุยืนนาน และใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสชาติดีขึ้นแล้ว
ชาติตะวัตกยังมุ่งแสวงหาแหล่งแร้เงินและแร่ทองคำซึ่งเชื่อว่ามีอยู่มากมายทางซีกโลกใต้
เพื่อนำไปใช้ซื้อสิ่งของต่างๆจากประเทศทางตะวันออก
และใช้จ่ายเป็นค่าจ้างทหารและเจ้าหน้าที่รัฐต่าง
การสำรวจของดัตช์เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกจากอัมสเตอร์ดัมเมื่อเดือนเมษายน
ค.ศ. 1595 โดยมีจุดหมายการเดินทางไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[24] กองเรืออีกกองหนึ่งออกเดินทางในปี ค.ศ. 1598
และกลับมาในปีต่อมาพร้อมด้วยเครื่องเทศหนัก 600,000
ปอนด์และสินค้าอื่น ๆ จากอินเดียตะวันออก[24] หลังจากนั้นสหบริษัทอินเดียตะวันออกที่ก่อตั้งขึ้นในปี
ค.ศ. 1602
ก็เริ่มผูกขาดการค้าขายกับผู้ผลิตกานพลูและจันทน์เทศหลัก
ระหว่างนั้นบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษก็ส่งเครื่องเทศเป็นจำนวนมากกลับมายังยุโรปในคริสต์ศักราช
จากบันทึกของสารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 2002
“ในปี ค.ศ. 1602 บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ได้รับการก่อตั้งขึ้นโดยอำนาจของรัฐสภาแห่งเนเธอร์แลนด์
(States-General of the Netherlands) ในปี ค.ศ. 1664
บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสโดยการอนุมัติของรัฐบาลภายใต้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ชาติยุโรปอื่น ๆ
ต่างก็ออกใบอนุญาตแก่บริษัทอินเดียตะวันออกโดยได้รับความสำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง
ที่ตามมาด้วยความแก่งแย่งที่จะมีอภิสิทธิ์และเอกสิทธิ์ในการควบคุมการค้า
โปรตุเกสมีอิทธิพลเหนือกว่าประเทศใดอยู่ราว 100
ปีแต่ในที่สุดก็มาเสียอำนาจให้แก่อังกฤษและดัตช์ เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของอังกฤษก็มาอยู่ในอินเดียและศรีลังกา
ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ดัตช์มาควบคุมการค้าส่วนใหญ่ในอินเดียตะวันออกตะวันออก ”
การแข่งขันเพื่อที่จะควบคุมการค้าขายเครื่องเทศที่เพิ่มมากขึ้นนำไปสู้ความขัดแย้งที่ทำให้ต้องใช้กำลังทางทหารในการพยายามแก้ปัญหาในปี
ค.ศ. 1641 หมู่เกาะโมลุกกะของโปรตุเกสก็ถูกยึดโดยดัตช์
การยึดโมลุกกะทำให้เกิดการทำไร่กานพลูและจันทน์เทศกันเป็นอุตสาหกรรมกันบนเกาะ
ในขณะเดียวกันก็มีการพยายามกำจัดการปลูกบนเกาะอื่นโดยใช้สนธิสัญญาปัตตาเวีย (ค.ศ. 1652)
ทั้งนี้ก็เพื่อการควบคุมปริมาณของผลผลิตของตลาดเพื่อรักษาราคา[24]
ความพยายามครั้งนี้เป็นการยุติระบบการค้าขายเครื่องเทศที่ทำกันมาในอดีตและเป็นการลดจำนวนประชากรของหมู่เกาะต่าง
ๆ โดยเฉพาะในหมู่เกาะบันดา
“การค้าขายโดยชาวยุโรประหว่างบริเวณต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันทำผลกำไรได้มากกว่าการนำกลับไปขายยังบ้านเกิด
ในคริสต์ทศวรรษ 1530 โปรตุเกสขนกานพลู
และผลิตผลจากจันทน์เทศไปยังอินเดียและออร์มุซมากกว่าจำนวนที่ส่งไปยังโปรตุเกส
ผู้ซื้อในออร์มุซก็ได้แก่พ่อค้ามัวร์ผู้ส่งต่อไปขายยังเปอร์เซีย
อาหรับ และประเทศในเอเชียอื่น ๆ จนถึงตุรกี ตั้งแต่อย่างน้อยก็ในคริสต์ศตวรรษที่ 17
สินค้าอย่างเดียวกันก็ถูกส่งไปยังเบงกอลโดยโปรตุเกสและดัตช์
พ่อค้าอังกฤษพบว่าการค้าเครื่องเทศเป็นไปอย่างดีกว่าที่คาดที่สุรัต (Surat)
และตามเมืองต่าง ๆ ในอินเดียและเปอร์เซีย
ระหว่าง ค.ศ. 1620 ถึง ค.ศ. 1740
ดัตช์ทำการค้ากว่าหนึ่งในสามของตลาดเครื่องเทศโดยเฉพาะการค้ากานพลูในเอเชียที่รวมทั้งเปอร์เซีย
อาหรับ และอินเดีย โปรตุเกสขายให้ญี่ปุ่นจากมาเก๊าและต่อมาดัตช์
แต่ความต้องการกานพลูและเครื่องเทศเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 อยู่ในระดับต่ำซึ่งเป็นผลให้ราคาลดตามลงไปด้วย
ปีนังซึ่งเป็นอาณานิคมอังกฤษได้รับการก่อตั้งขึ้นเป็นเมืองท่าสำหรับการค้าพริกไทยในปี
ค.ศ. 1786ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18
อาณานิคมของฝรั่งเศสในอินเดียก็ถูกยึดโดยอังกฤษผู้พยายามควบคุมการค้าขายของดัตช์ในบริเวณตะวันออกไกล
อิทธิพลของอังกฤษที่เพิ่มมากขึ้นเป็นผลให้อิทธิพลของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์เริ่มอ่อนตัวลง
ในปี ค.ศ. 1585
เรือจากเวสต์อินดีสก็เดินทางมาถึงยุโรปพร้อมด้วย “ขิงจาเมกา”
ที่เดิมปลูกกันในอินเดียและทางใต้ของประเทศจีน
ซึ่งเป็นเครื่องเทศชนิดแรกจากเอเชียที่ไปเติบโตในโลกใหม่สำเร็จ
ความคิดที่ว่าต้นไม้หรือพืชพันธุ์ไม่สามารถนำไปปลูกนอกบริเวณดั้งเดิมที่
เชื่อกันมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18
ที่สนับสนุนโดยก็นักพฤษศาสตร์คนสำคัญของสมัยนั้นเช่นจอร์จ เอเบอร์ฮาร์ด รุมพฟ[27]ก็หมดความหมายไปจากการทดลองปลูกพืชพันธุ์ต่าง ๆ ในยุโรปและคาบสมุทรมาเลย์ระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่
เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1815
การส่งผลผลิตของจันทน์เทศจากสุมาตราก็มาถึงยุโรปเป็นครั้งแรกนอกจากนั้นหมู่
เกาะในเวสต์อินดีสเช่นเกรนาดาก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของการค้าขายเครื่องเทศไม้จันทน์จากติมอร์และทิเบตก็เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเและกลายเป็นสินค้ามีค่าของจีนระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่
เอเชียตะวันออกนิยมใช้สินค้าที่ทำจากไม้จันทน์ที่ใช้ในการแกะพระพุทธรูปและสิ่งมีค่าอื่น
ๆ
ระหว่างครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 พ่อค้าจากซาเล็ม, แมสซาชูเซตส์ได้ผลกำไรเป็นอันมากจากการค้าขายกับสุมาตรา[30] ราชอาณาจักรอเซห์ (Aceh) ที่ตั้งอยู่ตอนปลายของเกาะสุมาตรากลายมาเป็นผู้มีอำนาจในการค้าขายเครื่องเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อชนอเซห์ต่อต้านการรุกรานของดัตช์โดยหันไปเป็นพันธมิตรกับผู้ค้าขายจากซาเล็ม[31] ในปี ค.ศ. 1818 การค้าขายระหว่างซาเล็มและสุมาตราก็เกิดขึ้นหลายครั้งอย่างไม่มีเหตุการณ์สำคัญใดใด[32] มาจนกระทั่งเมื่อถูกโจมตีโดยโจรสลัดเข้าหลายครั้ง ซึ่งทำให้เกิดข่าวลือกันไปต่าง ๆ ในวงผู้ค้าขายถึงอันตรายของนักเดินเรือชาวอินเดียและชาวยุโรปที่ประสบจากน้ำ มือของโจรสลัดในบริเวณนั้น[32] สหรัฐอเมริกาแก้ปัญหาโดยใช้มาตรการการลงโทษหลังจากที่ผู้ ค้าขายจากนิวอิงแลนด์ประสบภัยจากโจรสลัดและหลังจากกะลาสีของเรือสินค้าห้าคน ถูกสังหารซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์อันร้ายแรงที่มีผลกระทบกระเทือนต่อความ สัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสุมาตราและซาเล็ม
การประดิษฐ์ระบบการทำความเย็น (refrigeration) ในกลางคริสต์ศตวรรษที่
19 เป็นผลทำให้ความต้องการเครื่องเทศโดยทั่วไปลดลงซึ่งก็ทำให้มีผลกระทบกระเทือนต่อการค้าขายเครื่องเทศโดยตรง
ดัตช์ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก
(The Dutch in
the East Indies)
บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (The Dutch East India Company) ก่อตั้งสำนักงานใหญ่ขึ้นที่เมืองปัตตาเวีย
(ปัจจุบันคือจาการ์ตา) ในหมู่เกาะชวา
เพื่อควบคุมการค้าเครื่องเทศในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 บริษัทได้เข้ายึดไต้หวัน
(ซึ่งในเวลานั้นจีนยังไม่ได้อ้างสิทธิว่าเป็นดินแดนของตน)
เป็นดินแดนอาณานิคมของดัตช์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การค้าขายกับจีนและญี่ปุ่น
ภายหลังเกิดสงครามนโปเลียน (The Napoleonic Wars) ดัตช์ก็มุ่งความสนใจในการประกอบกิจการพาณิชย์ของตนไปอยู่ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์
(อินโดนีเซีย) มาจนตลอดศตวรรษที่ 19 และสูญเสียส่วนใหญ่ของอาณานิคมแห่งนี้ของตนให้แก่ญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่
2 อย่างไรก็ตาม เมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้แก่กองกำลังพันธมิตรในปี 1945
โปรตุเกสก็ต้องเผชิญหน้ากับการต่อสู้เพื่อประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย
อินโดนีเซีย – ฮอลันดา
การเข้ามาของฮอลันดาในเอเชีย
ฮอลันดา เป็นชาติที่มีความสามารถมากในการต่อเรือและการเดินเรือ
ฮอลันดาซึ่งเดิมอยู่ใต้อำนาจของสเปน สามารถปลดแอกจากสเปนได้สำเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๑
จึงได้ทำการค้ากับประเทศต่างๆ ในยุโรปเหนือ โดยผ่านเมืองลิสบอน
เมืองหลวงของโปรตุเกส จนกระทั่งเมื่อสเปนและโปรตุเกสประกาศว่าไม่ยอมให้ฮอลันดาทำการค้าขายด้วย
ทำให้ฮอลันดาต้องเปลี่ยนทิศทางมายังหมู่เกาะเครื่องเทศ
โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำการค้าเครื่องเทศกับภูมิภาคเอเซีย
ตะวันออกเฉียงใต้ไม่คิดที่จะทำการเผยแผ่คริสต์คาสนาเช่นเดียวกับสเปนและ โปรตุเกส
ฮอลันดาสนใจทางการค้ามากกว่าการเข้าปกครองดินแดนนั้น ๆ
ฮอลันดามีบริษัทการค้ามากมายและ ใน พ.ศ. ๒๑๔๕ บริษัทการค้าของฮอลันดาประมาณ ๕๐
บริษัท ได้รวมตัวกันจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา
นับเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอาณานิคมสมัยใหม่ที่อาศัยการค้าเป็นสำคัญ
บริษัทเหล่านี้เป็นกึ่งราชการ มีอำนาจทางการค้า การเมือง การปกครอง
การตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่างๆ ตลอดจนการทำสงครามและการทำสนธิสัญญา
มีการสร้างป้อมปราการและมีกองทหารประจำบริษัท
บริษัทของออลันดาได้เปรียบกว่าบริษัทของชาติคู่แข่งในเวลานั้น พ.ศ. ๒๑๖๒
ฮอลันดาได้ครอบครองเมืองปัตตาเวีย ( เมืองจาร์กาตาในปัจจุบัน ) ในเกาะชวา และใน
พ.ศ. ๒๑๘๔ ได้เข้ายึดมะละกาของโปรตุเกส ต่อมาได้ขยายสถานีการค้าไปในเกาะชวา
สุมาตรา หมู่เกาะโมลุกกะ เกาะบอร์เนียว เซลีเบส ตลอดจนแหลมมลายู
การที่มีอำนาจผูกขาดในหมู่เกาะอินดีสตะวันออก ในขณะที่ชาวพื้นเมืองรบพุ่งกันอยู่ได้เปิดโอกาสให้ฮอลันดาเข้าแทรกแซงกิจการภายในและขยายอิทธิพลของตนได้สะดวกขึ้น
ต่อมาบริษัทเสื่อมลงเนื่องจากเกินการฉ้อโกงในบริษัท
เจ้าหน้าที่ของบริษัททำการค้าขายส่วนตัวทำให้บริษัทขาดทุนและมีหนี้สินมาก
รัฐบาลจึงยุบบริษัทและเข้าปกครองหมู่เกาะอินดีสตะวันออกโดยตรง
พระเจ้าบุเรงนองสวรรคตเมื่อพ.ศ. 2124ขณะนั้นพระมหาธรรมราชาเป็นกษัตริย์ของสยาม ส่วนในด้านยุโรปสเปนกับโปรตุเกตได้รวมตัวเป็นอาณาจักรเดียวกันภายใต้การปกครองของพระเจ้าฟิลิปส์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2123พ.ศ. 2131 อังกฤษสามารถรบชนะกองเรืออาร์มาด้าของสเปนเป็นการลดบทบาทการค้าทางทะเลของ
สเปนและโปรตุเกตลงอย่างมาก
การกระจุกตัวทางการค้าที่กรุงลิสบอนจึงลดลงเมืองท่าของฮอลันดากลายมาเป็น
ศูนย์กลางทางการค้าแทน
ส่วนทางด้านเอเชียนั้นฮอลันดามาตั้งสถานีการค้าแห่งแรกที่เมืองบันตัมบนเกาะ
ชวาเมื่อ พ.ศ. 2135 ( ตรงกับสยามในช่วงรัชสมัยพระนเรศวร ) พ.ศ. 2137
พระเจ้าฟิลิปส์สั่งปิดเมืองท่าลิสบอนไม่ให้อังกฤษและฮอลันดาเข้ามาค้าขาย
เป็นเหตุให้พวกพ่อค้าฮอลันดาและอังกฤษ
ต้องสร้างกองเรือของตนเองทำการค้าขายโดยไม่ผ่านเมืองท่าของสเปนและโปรตุเกต
พ่อค้าชาวฮอลันดาเข้ามาบุกเบิกตลาดการค้าทางแถบเอเชียเน้นการค้าเครื่องเทศ
เป็นหลัก เนื่องจากได้กำไรเฉลี่ย 400 เปอร์เซ็นต์ และใน พ.ศ. 2143
อังกฤษตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกขึ้นมารองรับการค้าในแถบเอเซีย ใน ปีเดียวกันนี้ฮอลันดาขยายฐานสถานีการค้าเข้ามาถึงเมืองปัตตานีซึ่งเป็น
ประเทศราชของสยาม
เมื่ออังกฤษตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกขึ้นมาจึงทำให้พ่อค้าชาวฮอลันดา 17
รายรวมกลุ่มกันตั้งบริษัทเอเชียตะวันออกของฮอลันดา ( VereenigteOost-In-dische
Compagnie หรือ VOC ) ขึ้นในพ.ศ.
2145 โดยไม่ต้องพึ่งพารัฐบาลแต่อย่างใด และส่งนายคอร์เนเลียส
สเปกซ์เป็นทูตเจริญไมตรีทางการค้ากับสยามใน พ.ศ. 2147 ปลายรัชสมัยพระนเรศวร
ขณะนั้นสยามกำลังยกทัพไปเชียงใหม่เพื่อจะเข้ารบกับพม่าที่เมืองอังวะ
ทูตที่เข้ามานี้น่าจะเข้ามาเฝ้าพระนเรศวรและพระเอกาทศรถก่อนเคลื่อนทัพออกจากอยุธยาซึ่งสยามกำลังต้องการปืนไฟเพื่อใช้ในการสงคราม พ.ศ. 2150พระเอกาทศรถขึ้นครองราชย์ได้ประมาณ 2 ปี ส่งคณะทูต 20 คน ไปเจริญไมตรีทางการค้ากับฮอลันดา หลังจากนั้นอีกหนึ่งปีฮอลันดาจึงได้เปิดสถานีการค้ากับสยามที่กรุงศรีอยุธยา
ทูตที่เข้ามานี้น่าจะเข้ามาเฝ้าพระนเรศวรและพระเอกาทศรถก่อนเคลื่อนทัพออกจากอยุธยาซึ่งสยามกำลังต้องการปืนไฟเพื่อใช้ในการสงคราม พ.ศ. 2150พระเอกาทศรถขึ้นครองราชย์ได้ประมาณ 2 ปี ส่งคณะทูต 20 คน ไปเจริญไมตรีทางการค้ากับฮอลันดา หลังจากนั้นอีกหนึ่งปีฮอลันดาจึงได้เปิดสถานีการค้ากับสยามที่กรุงศรีอยุธยา
ประเทศไทย กับ
ฮอลันดา
ช่วงพุทธศตวรรษที่ 22
อิทธิพลทางการค้าของโปรตุเกสในเอเชียลดน้อยลงไปอย่างมาก เนื่องจากประเทศโปรตุเกสถูกประเทศสเปนยึดครองระหว่าง
พ.ศ. 2123 จนถึง พ.ศ.2183 ทำให้ฮอลันดาและอังกฤษได้ก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของตนขึ้น
เพื่อผูกขาดการค้าในแถบตะวันออก บริษัทอินเดีย
ตะวันออกของฮอลันดาได้รับมอบเอกสิทธิ์ในการเจรจาทางการค้ากับเจ้าผู้ปกครอง
ชาวพื้นเมืองต่างๆ
และมีกองทหารและกองเรือรบเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ทางการค้าในที่สุดฮอลันดา
สามารถตั้งสถานีการค้าขั้นที่เมืองปัตตาเวียเพื่อเป็นศูนย์กลางการดำเนินการ ค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกทั้งหมด
ฮอลันดาเข้าติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกใน
พ.ศ. 2147 โดยผ่านเมืองปัตตานีประเทศราชของเมืองปัตตานีในขณะนั้น จุดมุ่งหมายสำคัญของฮอลันดา คือต้องการซื้อสินค้าจากจีนและหาช่องทางเข้าไปค้าขายในประเทศจีน
โดยอาศัยเรือสำเภาของไทย แต่ไทยยินดีต้อนรับเฉพาะ
เรื่องที่ชาวฮอลันดาจะเข้ามาค้าขายเท่านั้นดังนั้นบริษัทอินเดียตะวันออกของ
ฮอลันดาจึงผิดหวังที่ไม่สามารถอาศัยเรื่อสำเภาของอยุธยาเข้าไปค้าขายยัง
ประเทศจีนได้ แต่ฮอลันดาก็ยังสนใจที่อยู่หาลู่ทางการค้าที่กรุงศรี-อยุธยาต่อไป ทั้งนี้เนื่องจากอยุธยามีสินค้ามากมายทั้งสินค้าประเภทของป่าและธัญญาหาร
เช่น ไม้ยาง ไม้กฤษณา ดีบุก หนังสัตว์ น้ำมันมะพร้าว และข้าว ชาวฮฮลันดาจึงเห็นประโยชน์จากการเข้ามาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยา และตั้งสถานีการค้าที่กรุงศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2151-2308
ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดากับราชสำนักอยุธยาในปลาย
พุทธศตวรรษที่ 22 รุ่งเรืองมาก คณะทูตไทยเดินทางไปกรุงเฮก ถวายพระราชสาสน์แด่กษัตริย์ฮอลันดาใน
พ.ศ. 2151 นับเป็นคณะทูตไทยชุดแรกที่เดินทางไปถึงทวีปยุโรปของฮอลันดา ทำให้เกิดขัดแย้งกับผลประโยชน์และระบบการค้าผูกขาดพระคลังสินค้าของอยุธยา หลายครั้งที่ฮอลันดาขอสิทธิผูกขาดในการส่งสินค้าออก เช่น หนังกวาง ดีบุก แต่มักจะไม่มีผลในทางปฏิบัติทำให้ฮอลันดาไม่พอใจ บางครั้งเกิดกรณีการขัดแย้งกันจนถึงขั้นฮอลันดานำกองเรือปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา แต่เมื่อความขัดแย้งสิ้นสุด
ลงบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาก็ทำการค้ากับอยุธยาต่อไป
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 การค้าของฮอลันดาที่กรุงศรีอยุธยาค่อยๆ ลดความสำคัญลง
เพราะมีอุปสรรคนานาประการ เช่น
การเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าและการต่างประเทศของพระมหากษัตริย์อยุธยา และความผันผวนทางการเมืองในราชสำนัก ประกอบกับสภาวการณ์ทางการค้าในยุโรปและเอเชียตะวันออกเปลี่ยนแปลง สถานการณ์ทางการเงินของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาไม่อำนวยและมีปัญหา ฮอลันดาจึงค่อยๆถอนตัวจากการค้าที่กรุงศรีอยุธยา
อินโดนีเซีย – ฮอลันดา
ฮอลันดา (ดัช)
สนใจประเทศอินโดนีเซียเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของเครื่องเทศที่มีคุณภาพ
ต้องการผูกขาดการค้าเครื่องเทศและกาแฟ
จากการแข่งขันทางการค้าในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศตวรรษที่ ๑๖ – ๒๐ ทำให้ รัฐบาลฮอลันดาร่วมทุนกับบริษัทของการค้าใหญ่ตามเมืองท่าต่างๆ
ของฮอลันดา ก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (V.O.C.) ขึ้นในวันที่ ๒๐ มีนาคม ค.ศ. ๑๖๐๒ ดำเนินกิจการในรูปแบบกิจการรัฐวิสาหกิจ
ตั้งสถานีการค้าขึ้นที่บันทัม
เนื่องจากนโยบายของผู้ปกครองบันทัมยินดีต้อนรับพ่อค้าต่างชาติ
พ่อค้าคนแรกของดัชคือ สตีเวน แวนเดอร์ ฮาเกน ได้ทำสัญญาผูกขาดการค้ากานพลู
ในนามของพ่อค้าสมาคมชาวดัช การค้าในแต่ละเมืองจะจัดส่งเรือออกไปอย่างเป็นอิสระ
โดยผลกำไรและขาดทุนจะมาเฉลี่ยทั่วกัน ในที่สุด V.O.C. ก็
เข้าควบคุมโรงเก็บสินค้าทั้งหมดที่ฮอลันดาตั้งขึ้นเช่นที่เกาะเทอร์เนตใน
หมู่เกาะโมลุกะ บันดา บันทัม และกรีสิกริมฝั่งชวาเหนือ ปัตตานี
ยะโฮร์บนแหลมมาลายูและอาเจะห์ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสุมาตรา พ.ศ. 2145 เป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าปกครองอินโดนีเซียในฐานะอาณานิคมของดัชท์
ในช่วงแรก บริษัท VOC ใช้วิธีเข้าไปมีอิทธิพลเหนือผู้ปกครองท้องถิ่น
ต่อมา ใน พ.ศ. 2342 หลังจาก รัฐบาลฮอลันดาเข้าควบคุมกิจการบริษัท VOC รัฐบาลฮอลันดาก็ได้เข้าปกครองอินโดนีเซียในรูปแบบอาณานิคม
การขยายอำนาจและการปกครองในระบบเศรษฐกิจ ดัชปกครองอินโดนีเซียแบ่งได้เป็น
๒ ระยะดังนี้
๑. ระยะเศรษฐกิจ
ระยะแรกเริ่ม
ใน ระยะแรกเริ่ม ดัชสนใจเพียงแค่การค้าเพียงอย่างเดียว
ไม่ได้สนใจครอบครองดินแดน การผูกขาดการค้าเครื่องเทศ ในหมู่เกาะเครื่องเทศ
ผูกขาดการค้าข้าวในชวา และการผูกขาดการค้าอื่น ๆ ได้ผลเป็นอย่างดี
ไม่มีความจำเป็นจะต้องครอบครองดินแดนแต่อย่าง การใช้นโยบายผูกขาดทางการค้า
ไปพร้อม ๆ กับ ขจัดอิทธิพลของชาติอื่นคือ โปรตุเกส อังกฤษ อาหรับ โดยเสนอผลประโยชน์ให้สุลต่านในการทำสัญญาผูกขาดเครื่องเทศ
ให้เงินตอบแทนและขายอาวุธให้ ขยายอำนาจทางการค้าไปยังดินแดนต่าง ๆ
โดยเฉพาะในหมู่เกาะเครื่องเทศ พร้อม ๆ
กับคุกคามโปรตุเกสให้ถอนกำลังทางการค้าในบริเวณถูมิภาคนี้
อีกทั้งปราบปรามอังกฤษให้ให้แข่งขันทางการค้า ใช้วิธีการปกครองแบบ Priangan System แบ่งดินแดนการปกครองออกเป็นเขต
ๆ แต่งตั้งหัวหน้าชาวพื้นเมืองของแต่ละเขตเรียกว่า Regent มีหน้าที่ควบคุม ดูแลชาวพื้นเมืองเพาะปลูก และส่งผลผลิตให้กับ V.O.C.
ในราคาที่บริษัทกำหนดไว้ Regent จะไม่ได้รับเงินเดือน
แต่จะได้รับสิทธิทางภาษีจากประชาชนในเขตการปกครองของตน
ภายใต้เงื่อนไขของบริษัทว่าต้องจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการชาวพื้นเมือง
แต่การจัดการปกครองแบบนี้ทำให้ Regent แต่ละคนมีอำนาจมาก
มักทำอะไรตามอำเภอใจ ดำเนินกิจการต่าง ๆ เป็นอิสระ Regent นานวันนับมีอำนาจมากยิ่งขึ้น
เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันเอง กดขี่ชาวพื้นเมือง ในภายหลังบริษัทจึงเข้าแทรกแซง
และควบคุมการตรวจสอบพวก Regent นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ฮอลันดาเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองภายใน
และเริ่มใช้นโยบายควบคุมดินแดน (ศิวพร ชัยประสิทธิกุล, ผศ.,
๒๕๓๐ : ๘๕ – ๘๖ อย่างไรก็ตามในระยะเริ่มแรกนี้
ๆ การผูกขาดทางการค้าได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง ดัชทำการปกครองทางอ้อม
ปล่อยให้ชาวพื้นเมืองปกครองตนเองของครอบครัวและหมู่บ้านที่เรียกว่า เดสา (Dasa)
ตามกฎหมายและจารีตประเพณีพื้นเมือง อะดาท
(Adat) ดัชรักษาเพียงผลประโยชน์ทางการค้าเท่านั้น
แต่เนื่องจากการที่ชาวพื้นเมืองลักลอบขายสินค้าให้กับโปรตุเกส อังกฤษ
สเปนและอาหรับ เนื่องจากชาติเหล่านี้ให้ราคาสูงกว่า Regent แต่ละคนมีอำนาจมาก
เกิดการทะเลาะขัดแย้งกันเอง กดขี่คนพื้นเมือง บริษัทจึงเข้าแทรกแซง
และควบคุมการตรวจสอบ อีกทั้งปัญหาโจรสลัดปล้นเรือสินค้าของ V.O.C. จึงทำให้ดัชจึงมีนโยบายควบคุมดินแดนนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของ V.O.C.
๒. การแทรกแซงทางการเมืองและการทำสงคราม
การทำสงครามและเข้าแทรกแซงทางการเมือง
เมื่อคนพื้นเมืองไม่ทำสัญญาทางการค้าก็จะใช้กำลังทางการทหารบีบบังคับ
และถ้าดินแดนใดที่เห็นว่ามีประโยชน์ทางการค้าแก่ฮอลันดา เกิดการแตกแยกภายใน
ฮอลันดาจะเข้าแทรกแซงทันที
ปกครองระบบพาณิชย์นิยม บริษัทซื้อสินค้าโดนตรงกับคนพื้นเมืองโดยตรง
จ่ายเงินให้กับผู้ผลิต เนื่องจากบริษัทมีภาระทางการเงินมาก
จึงมอบให้สุลต่านเป็นผู้ดูแล มีการนำระบบบังคับการเกษตรมาใช้
สุลต่านผูกพันสัญญากับบริษัท ดัชปกครองชวาอย่างใกล้ชิด
ในส่วนท้องถิ่นและเกาะรอบนอก ผู้นำยังคงปกครองต่อไป
ตราบเท่าที่การค้ายังคงดำเนินไปตามกฎของบริษัท แต่หากรัฐใดทำผิดกฎ
ติดต่อค้าขายกับชาติอื่น ดัชจะลงโทษทันที
- บังคับให้ประชาชนเพาะปลูกพืชผลตามที่ฮอลันดาต้องการ
โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน มีระบบเรือลาดตระเวนฮองงี
คอยจับผู้ลักลอบทำการค้า
-ชาวพื้นเมืองสามารถขายที่ดินได้
โดยเจ้าของที่ดินจะต้องแบ่งที่ดิน๑ใน ๕ส่วนสำหรับปลูกพืชตามที่รัฐกำหนด
- ปรับปรุงการศาล ทุกเขตจะแยก Councils of Justice จากกัน
- ปราบปรามคอรัปชั่นของข้าราชการ
และโจรสลัดดัชขยายการปกครองไปทั่วดินแดนอินโดนีเซียและเก็บเกี่ยวพืชผลทางเกษตร
การแสวงหาผลประโยชน์โดยปราศจากความเมตตา
เมื่อดัชย้ายศูนย์กลางการปกครองและการค้าไปอยู่ปัตตาเวีย การปกครองเข้มงวดและรัดกุมมากขึ้น ทำให้ดัชได้เกาะชวาทั้งหมด
และมีอิทธิพลทางการค้าและการเมืองเหนือหมู่เกาะเครื่องเทศ ยกเว้นเพียงมาคัสซาร์
ความเสื่อมของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา การแข่งขันทางด้านการค้าในยุโรป การขยายการค้าเกินกำลัง V.O.C. ขยายตัวทางการค้าเข้าไปใน จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ทำให้มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก การค้าในจีนขาดทุ่น ประกอบกับสินค้าเครื่องเทศลดความนิยมลง ความต้องการสิ่งทอ จากอินเดีย และ ใบชาจากจีนเพิ่มขึ้น แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปลูกพืชชนิดใหม่เช่นชา กาแฟ แทนการปลูกเครื่องเทศในหมู่เกาะชวา ตั่งแต่บันทัมถึงมาธะรัม จำกัดการเพาะปลูกเครื่องเทศให้น้อยลง คือ ให้ปลูกได้ครอบครัวละไม่เกิน ๕ ต้น ใครปลูกมากจะถูกจำคุก (ศิวพร ชัยประสิทธิกุล, ผศ., ๒๕๓๐ : ๘๐) แต่ก็ไม่สามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทได้ การผูกขาดการค้า ดัชไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ ไม่สนใจสวัสดิการของชาวพื้นเมือง เอารัดเอาเปรียบชาวพื้นเมือง ให้ค่าจ้างแรงงานพื้นเมืองถูก ให้ราคาสินค้าต่ำ ขายสิ้นค้าอุปโภคบริโภคให้ชาวพื้นเมืองแพงการผูกขาดทางการค้าไม่ได้ผลเท่า ที่ควรเนื่องจากมีอังกฤษและพ่อค้าชาวอาหรับเป็นคู่แข่ง อังกฤษและฝรั่งเศสหันมาส่งเสริมคนพื้นเมืองในอาณานิคมของตน เพาะปลุกค้าขายแข่งกับฮอลันดา ทำให้รายได้ของฮอลันดาลดลง ผลจากควบคุมการผลิตไม่ให้ผลผลิตมากเกินไป สิ้นค้าเครื่องเทศลดความนิยมลง การผลิตต้องถูกควบคุมโดย V.O.C. กดราคาสินค้าให้ต่ำ คนพื้นเมืองไม่พอใจต่อการบังคับการเพาะปลูก ต้องทำงานหนัก ไม่มีเสรีภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ จึงเกิดการก่อกบฏ อีกทั้งเกิดปัญหาโจรสลัด และการลักลอบขายสินค้า ดัชต้องเสียเงินอย่างมากในการปราบปราม เกิดปัญหาทุจริตในแวดวงราชการ ข้าราชการได้เงินเดือนน้อยจึงต้องมีการติดสินบน แอบค้าขาย หารายได้ส่วนตัว และโกงบริษัทด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นซื้อสิ้นค้าจากคนพื้นเมืองถูก ๆ ทั้ง ๆ ที่ดัชให้ราคาถูกอยู่แล้ว แต่กลับเบิกจากบริษัทแพงกว่าราคาซื้อ โกงตาชั่งน้ำหนัก ฯลฯ ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในการปราบปราม การมีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น จึงมีค่าใช่จ่ายมากขึ้นเนื่องจากการขยายดินแดนและควบคุมดินแดนต่าง ๆ จ้างข้าราชการมากขึ้น มีการก่อกบฏหลายครั้ง รัฐเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น
๒.การเพาะปลูกของประชาชน ต้องปฏิบัติตามแนวทางของผู้ควบคุม และข้าราชการฮอลันดา ๓.มีการแบ่งแรงงาน ส่วนหนึ่งทำงานเพาะปลูก อีกส่วนหนึ่งทำการเก็บสินค้าและทำการขนส่ง เพื่อกระจายแรงงานออกไป ทำให้รัฐบ้างและทำให้ที่ดินของตนเองบ้าง
สาเหตุการเสื่อมอำนาจของฮอลันดา
การปฏิวัติอุตสาหกรรมความ ยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจของฮอลันดาได้สิ้นสุดลงในระหว่างศตวรรษที่ ๑๘ ทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ อาจเป็นเพราะความก้าวหน้าที่ดําเนินมานั้นได้หยุดชะงักลง หรือเสื่อมทรุดลง แต่ว่าส่วนใหญ่คงเนื่องมาจากประเทศอื่นพัฒนารุดหน้าตามมาทันโดยเลียนแบบทาง เทคนิคด้านต่างๆ แล้วในที่สุดก็เลิกซื้อสินค้า เลิกใช้บริการ เลิกใช้เรือ หรือเงินทุนของฮอลันดา จุดอ่อนอันสําคัญของฮอลันดาซึ่งไม่มีวัตถุดิบที่หาได้ภายในประเทศได้ทําให้ ฮอลันดาไม่สามารถที่จะดํารงฐานะเป็นผู้ผลิตสินค้าใดๆ ได้เป็นการถาวรตลอดไป การที่ต้องอาศัยสั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศเพื่อแปรสภาพแล้วส่งออกไปจําหน่าย อีกนั้น ทําให้ฐานะทางเศรษฐกิจของฮอลันดาไม่มั่นคงแน่นอนและตกอยู่ในฐานะลําบาก เมื่อประเทศที่เคยส่งวัตถุดิบให้ หรือที่เคยซื้อสินค้าจากฮอลันดากลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมมีฐานะเข้มแข็ง ขึ้น หรือประเทศดังกล่าวกลายเป็นศัตรูทางการเมืองกับฮอลันดา หนึ่ง ในด้านการต่อเรือและการเดินเรือ ประเทศอื่นก็มีความรู๎ความสามารถขึ้น และในด้านการเงินการธนาคาร ชาวฮอลันดาก็ไม่อาจทําการผูกขาดได้เช่นแต่ก่อน บุคคลที่เคยอาศัยชาวฮอลันดาเป็นคนกลาง ก็สามารถทําการติดต่อกันได้โดยตรง ในที่สุดฐานะของฮอลันดาที่เคยได้เปรียบชาติอื่นในด้านต่างๆ ก็เริ่มลดลงและความได้เปรียบดังกล่าวก็เริ่มหลุดลอยไปทีละอย่างสองอย่าง อีกประการหนึ่ง ความผิดพลาดอย่างฉกรรจ์บางอย่างของฮอลันดา และการที่มีแนวความคิดหรือทรรศนะตายตัว โดยไม่ยอมปรับเปลี่ยนตนให้ทันต่อการเปลี่ยนผันของโลก เป็นส่วนสำคัญทำให้อำนาจฮอลันดาเสื่อมลง
หนังสืออ้างอิง
ความเสื่อมของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา การแข่งขันทางด้านการค้าในยุโรป การขยายการค้าเกินกำลัง V.O.C. ขยายตัวทางการค้าเข้าไปใน จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ทำให้มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก การค้าในจีนขาดทุ่น ประกอบกับสินค้าเครื่องเทศลดความนิยมลง ความต้องการสิ่งทอ จากอินเดีย และ ใบชาจากจีนเพิ่มขึ้น แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปลูกพืชชนิดใหม่เช่นชา กาแฟ แทนการปลูกเครื่องเทศในหมู่เกาะชวา ตั่งแต่บันทัมถึงมาธะรัม จำกัดการเพาะปลูกเครื่องเทศให้น้อยลง คือ ให้ปลูกได้ครอบครัวละไม่เกิน ๕ ต้น ใครปลูกมากจะถูกจำคุก (ศิวพร ชัยประสิทธิกุล, ผศ., ๒๕๓๐ : ๘๐) แต่ก็ไม่สามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทได้ การผูกขาดการค้า ดัชไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ ไม่สนใจสวัสดิการของชาวพื้นเมือง เอารัดเอาเปรียบชาวพื้นเมือง ให้ค่าจ้างแรงงานพื้นเมืองถูก ให้ราคาสินค้าต่ำ ขายสิ้นค้าอุปโภคบริโภคให้ชาวพื้นเมืองแพงการผูกขาดทางการค้าไม่ได้ผลเท่า ที่ควรเนื่องจากมีอังกฤษและพ่อค้าชาวอาหรับเป็นคู่แข่ง อังกฤษและฝรั่งเศสหันมาส่งเสริมคนพื้นเมืองในอาณานิคมของตน เพาะปลุกค้าขายแข่งกับฮอลันดา ทำให้รายได้ของฮอลันดาลดลง ผลจากควบคุมการผลิตไม่ให้ผลผลิตมากเกินไป สิ้นค้าเครื่องเทศลดความนิยมลง การผลิตต้องถูกควบคุมโดย V.O.C. กดราคาสินค้าให้ต่ำ คนพื้นเมืองไม่พอใจต่อการบังคับการเพาะปลูก ต้องทำงานหนัก ไม่มีเสรีภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ จึงเกิดการก่อกบฏ อีกทั้งเกิดปัญหาโจรสลัด และการลักลอบขายสินค้า ดัชต้องเสียเงินอย่างมากในการปราบปราม เกิดปัญหาทุจริตในแวดวงราชการ ข้าราชการได้เงินเดือนน้อยจึงต้องมีการติดสินบน แอบค้าขาย หารายได้ส่วนตัว และโกงบริษัทด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นซื้อสิ้นค้าจากคนพื้นเมืองถูก ๆ ทั้ง ๆ ที่ดัชให้ราคาถูกอยู่แล้ว แต่กลับเบิกจากบริษัทแพงกว่าราคาซื้อ โกงตาชั่งน้ำหนัก ฯลฯ ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในการปราบปราม การมีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น จึงมีค่าใช่จ่ายมากขึ้นเนื่องจากการขยายดินแดนและควบคุมดินแดนต่าง ๆ จ้างข้าราชการมากขึ้น มีการก่อกบฏหลายครั้ง รัฐเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงในยุโรป สงครามปฏิวัติอเมริกา และ
การปฏิวัติฝรั่งเศส ทำให้เศรษฐกิจยุโรปชะงักงัน V.O.C. เสียผลประโยชน์ทางการค้า
การจ่ายเงินคืนกำไรให้หุ้นส่วนมาก ทั้งที่บริษัทใกล้จะขาดทุน
เพราะกลัวหุ้นส่วนถอนหุ้น ในที่สุด บริษัท V.O.C.
ต้องล้มละลายลงในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๗๙๙
รัฐบาลฮอลันดาต้องเข้ามารับภาระในการชำระหนี้สิน มีการส่งข้าหลวงใหญ่เข้ามาปกครองอาณานิคม
ทำการปฏิรูปการปกครองใหม่ แต่เมื่อเกิดสงครามนโปเลียนในยุโรป ค.ศ. ๑๘๑๑ – ๑๘๑๖ ฮอลันดาต้องตกอยู่ใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส อังกฤษจึงต้องเข้ามาดูแลชวา
และ หมู่เกาะเครื่องเทศชั่วคราว ภายใต้การปกครองของบริษัทอินเดียตะวันของอังกฤษ
ในระหว่างปี ค.ศ. ๑๘๑๑ – ๑๘๑๖ เซอร์ โทมัส แสตนฟอร์ด แรฟเฟิลส์ (Sir Thomas Stanford
Reffles) นายผลผู้ว่าการชวาและเมืองขึ้นอื่น ๆ
ได้แนะนำวิธีการปกครองท้องถิ่นด้วยตนเอง การค้าทาสได้ถูกสั่งห้าม
ซึ่งในขณะนั้นชาวต่างชาติมักจะมีทาสไว้ครอบครอง ระบบการเช่าที่ดินได้ถูกนำมาใช้แทนกองทหาร
(สถานเอกอัคราชทูตอินโดนีเซีย, ๒๕๒๒ : ๒๖)
ยกเลิกการผูกขาดการค้าและการบังคับการเพาะปลูก ฟื้นฟูอำนาจสุลต่าน แบ่งชวาออกเป็น
๑๐ เขต มีผู้ปรกครองแต่ละเขตทำหน้าที่บริหารราชการ และทำหน้าที่ตุลาการ
เรียกเก็บรายได้ให้รัฐบาล
การปกครองของรัฐบาลฮอลันดารอบที่ ๒ ภายหลังสงครามนโปเลีย ค.ศ. ๑๘๑๖
อังกฤษคืนชวาให้กับดัช ดัชกลับเข้ามาปกครองอินโดนีเซียอีกครั้ง
ซึ่งสถานะทางการเงินยังทรุดหนัก การค้าในหมู่เกาะอินโดนีเซียไม่มั่นคง
รัฐบาลฮอลันดาจึงเข้าปกครองชวา และหมู่เกาะเครื่องเทศอย่างใกล้ชิด และพยายามแทรกแซงการปกครองภายใน
ทำให้อินโดนีเซียตั่งแต่ ค.ศ. ๑๘๑๖ ถึง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑
ต้องตกเป็นอาณานิคมของฮอลันดาอย่างสมบูรณ์ (ศิวพร ชัยประสิทธิกุล, ผศ., ๒๕๓๐ : ๘๓)
รัฐบาล ฮอลันดาได้จัดตั้งคณะข้าหลวงเข้ามาปกครองอินโดนีเซีย
โดยประกาศใช้รัฐธรรมนูญปกครองอาณานิคนที่เรียกว่าRegerrings-reglement รัฐบาลฮอลันดาได้ทดลองปกครองแบบเสรีนิยมที่แรฟเฟิลส์ได้วางเอาไว้
และมีนโยบายสงเสริมสวัสดิการของชาวพื้นเมืองให้ดีขึ้นเนื่องจากแรกงกดดันของ
พวกเสรีนิยมในยุโรป ดัชได้ปรับเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบเสรีนิยมคือ
๑. การเสียภาษีที่ดิน จะเสียเป็นเงินหรือผลผลิตดก็ได้
เก็บเงินเป็นหมู่บ้านหัวหน้าเป็นผู้เก็บ
๒. ยกเลิกการบังคับการทำงาน การทำงานจะได้รับค่าตอบแทน
๓. ยกเลิกเรือลาดตะเวน กำหนดให้ปลูกพืชบางชนิดเพื่อหารายได้เข้ารัฐ
๔.ใช้ระบบการศาลยุติธรรมแบบยุโรป
และแบบพื้นเมืองผสมผสานกันตามแบบที่แรฟเฟิลส์วางไว้
๕. มีการปฏิรูปการปกครองอย่างแข็งขัน
ป้องกันมิให้ชาวพื้นเมืองถูกขูดรีด เช่นออกกฎหมายห้ามชาวยุโรปปลูกกาแฟ
ห้ามชาวยุโรปเช้าที่ดินจากชาวพื้นเมือง
๖. โจฮันเนส แวน เดน บอส (Johannes
Van der Bosch) ได้เสนอระบบเศรษฐกิจวัฒนธรรม (Culture
system) คือระบบบังคับการเพาะปลูก ในปี ค.ศ. ๑๘๓๔ - ๑๘๗๗
โดยอาศัยวัฒนธรรมเดิมของชาวพื้นเมืองที่เคารพเชื่อฟังสุลต่าน
เพราะสุลต่านเป็นผู้นำทางการปกครองและทางศาสนา มีการกำหนดข้อตกลงกับสุลต่าน
ประชาชนปลูกพืชตามที่ยุโรปต้องการ ดัชได้ประโยชน์จากระบบนี้มาก
สถานะทางการเงินดีขึ้น
ระบบวัฒนธรรม
เป็นระบบควบคุมหน่วยการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดโลก
ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเกื้อหนุนระบบการเพาะปลูกแบบบังคับและระบบบรรณราการ
แบบเก่าของรัฐต่าง ๆ ในชวา
ซึ่งได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรายละเอียดให้สอดคล้องกับมาตรการการปกครองทาง
ภาษีแบบอาณานิคม
ที่ดัชพยายามประยุกต์ให้สอดคล้องกับพื้นฐานของวัฒนธรรมและประเพณีการปกครอง
ของสังคมชาวพื้นเมืองอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
เพื่อให้ระบบวัฒนธรรมการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสามารถก่อให้เกิดผลผลิตทางการ
เกษตรเพียงพอต่อความต้องการของตลาดโลกที่มีมากขึ้นตลอดเวลา
ระบบวัฒนธรรมจะดำรงอยู่ได้ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการควบคมการผลิตโดยตรงและมี
ประสิทธิภาพมากที่สุด ระบบวัฒนธรรมจะควบคุมพืชเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ตามระบบที่ V.O.C.
เคยปฏิบัติมาแล้วในอดีต
พร้อมกับเน้นประสิทธิภาพในการจัดการทางด้านแรงงานและที่ดินให้มีประสิทธิภาพ
มากยิ่งขึ้น กล่าวโดยสรุป
ระบบวัฒนธรรมคือผลลัพธ์ของการฟื้นฟูอิทธิพลของลัทธิพานิชยกรรมนิยม (Liberalism)
ในการประกอบการทางเศรษฐกิจ ทั่วดินแดนต่าง ๆ ของดัชนั่นเอง (ภูวดล
ทรงประเสริฐ, ๒๕๓๙ : ๑๖๕)
หลักการของระบบวัฒนธรรม (การบังคับเพาะปลูก)
ชาวพื้นเมืองสามารถให้ชาวยุโรปเช่า หรือขายที่ดินได้
โดยเจ้าของที่ดินจะต้องกันที่ ๑ ใน ๕ สำหรับปลูกพืชผลตามที่รัฐกำหนด เช่น คราม
อ้อย กาแฟ ยาสูบ ฝ้าย เป็นต้น ๑ ใน ๕ ของที่ดินนั้น กันไว้เพื่อเสียภาษีเป็นผลผล
๑. ต้องปลูกข้าวตามจำนวนที่รัฐกำหนด
พืชผลที่จะส่งไปศูนย์ชั่งน้ำหนัก เมื่อหักค่าเช่าและภาษีแล้ว
ส่วนที่เหลือรัฐจะจ่ายให้ในราคาที่ต่ำ แต่ถ้าพืชผลประสบความเสียหายเนื่องจากภัยธรรมชาติ
รัฐบาลจะเก็บพืชผลเฉพาะฤดูที่ไม่เสียหายเท่านั้น ๒.การเพาะปลูกของประชาชน ต้องปฏิบัติตามแนวทางของผู้ควบคุม และข้าราชการฮอลันดา ๓.มีการแบ่งแรงงาน ส่วนหนึ่งทำงานเพาะปลูก อีกส่วนหนึ่งทำการเก็บสินค้าและทำการขนส่ง เพื่อกระจายแรงงานออกไป ทำให้รัฐบ้างและทำให้ที่ดินของตนเองบ้าง
๔.เน้นความสำคัญในการตกลงกับประชาชน
ควบคู่กับเอาวิธีการบีบบังคับมาใช้ และขอความร่วมมือจากนายทุน
ข้อดี
๑. วิธีบังคับการเพาะปลูก ทำให้ชาวพื้นเมืองมีความรู้ความเจริญด้านการเกษตรกรรม
มีผลผลิตทางการเกษตรมากที่สุด ฮอลันดามีผลกำไรมากมาย
๒. อัมเตอร์ดัม กลายเป็นตลาดที่สำคัญของสินค้าจากอินโดนีเซีย
โดยเฉพาะเครื่องเทศและพืชผักเมืองร้อน ฮอลันดา กลายเป็นอันดับที่ ๓
ในการขนส่งรองจากอังกฤษ และ ฝรั่งเศส ฮอลันดาสามารถใช้หนี้สินได้
ฐานะทางการเงินดีขึ้น
๓. โดยทั่ว ๆ ไป ผู้คนมีฐานะดีขึ้น ประชากรเพิ่มขึ้นถึง ๓ เท่า
ข้อเสีย
๑. เป็นระบบเศรษฐกิจที่ทารุณชาวพื้นเมือง ชาวพื้นเมืองต้องทำงานหนัก
เป็นการบังคับใช้แรงงานในระบบทาส ชาวนาต้องเสียภาษีที่ดิน
๒. ผู้คนไม่มีสิทธิเสรีภาพในการเพาะปลูก
๓. รายได้จากการเพาะปลูกพืชรัฐเอาไปหมด ส่วนแบ่งที่คนพื้นเมืองได้
ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
๔. คนพื้นเมืองค้าขายไม่เป็น คนกลายเข้ามาทำการค้าขาย
กลายเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจภายในอินโดนีเซีย
๕. ขาดการอุตสาหกรรม ทำให้ขาดดุลทางการค้า
เพราะต้องซื้อของจากต่างประเทศ เงินที่ลงทุนคือเงินของรัฐบาลฮอลันดา
ฮอลันดาควบคุมเศรษฐกิจไว้ทั้งหมด
การ ปกครองของดัชสร้างปัญหาให้กับอินโดนีเซียเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะระบบบังคับการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เกิดปัญหาการขาดแคลนข้าว
เพราะที่ดินที่ควรจะนำมาปลูกข้าวเพื่อใช้บริโภคกลับถูกนำไปปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น
อ้อย ผู้คนค้าขายไม่เป็น สภาพชีวิตของผู้คนแย่ลง กลุ่มเสรีนิยมได้โจมตีระบบนี้อย่างหนัก
เกิดขบวนการชาตินิยม เกิดการก่อกบฏชองชาวพื้นเมืองไปทั่วภูมิภาค ในปี ค.ศ. ๑๙๑๙
ระบบนี้ได้ถูกยกเลิกเป็นการถาวร
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
อินโดนีเซียได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ประเทศได้ตกอยู่ในภาวะยากเข็ญ เกิดการเรียกร้องเสรีภาพและเอกราชในการปกครองตนเองทั่วอินโดนีเซีย
บุคคลที่มีความสำคัญในการเรียกร้องเอกราชคือ ดร. ซูการ์โน และ ดร.โมฮามัด อัตตา
ในที่สุด ชาวอินโดนีเซียก็ประสบความสำเร็จ
สามารถก่อตั้งสาธารณะรัฐอินโดนีเซียอย่างสมบูรณ์ หลังจากประกาศเอกราชในวันที่ ๑๗
สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๙
สาเหตุการเสื่อมอำนาจของฮอลันดา
ฮอลันดาเป็นนชาติที่มีความสามารถมากในการต่อเรือและการเดินเรือ
ฮอลันดาซึ่งเดิมอยู่ใต้อำนาจของสเปน สามารถปลดแอกจากสเปนได้สำเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๑
จึงได้ทำการค้ากับประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเหนือ โดยผ่านเมืองลิสบอน
เมืองหลวงของโปรตุเกส
จนกระทั่งเมื่อสเปนและโปรตุเกสประกาศว่าไม่ยอมให้ฮอลันดาทำการค้าขายด้วย
ทำให้ฮอลันดาต้องเปลี่ยนทิศทางมายังหมู่เกาะเครื่องเทศ
โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำการค้าเครื่องเทศกับภูมิภาคเอเซีย
ตะวันออกเฉียงใต้ไม่คิดที่จะทำการเผยแผ่คริสต์คาสนาเช่นเดียวกับสเปนและโปรตุเกส
ฮอลันดาสนใจทางการค้ามากกว่าการเข้าปกครองดินแดนนั้น ๆ
ฮอลันดามีบริษัทการค้ามากมายและ ใน พ.ศ. ๒๑๔๕ บริษัทการค้าของฮอลันดาประมาณ ๕๐
บริษัท ได้รวมตัวกันจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา
นับเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอาณานิคมสมัยใหม่ที่อาศัยการค้าเป็นสำคัญ
บริษัทเหล่านี้เป็นกึ่งราชการ มีอำนาจทางการค้า การเมือง การปกครอง
การตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนการทำสงครามและการทำสนธิสัญญา
มีการสร้างป้อมปราการและมีกองทหารประจำบริษัท
บริษัทของออลันดาได้เปรียบกว่าบริษัทของชาติคู่แข่งในเวลานั้น พ.ศ. ๒๑๖๒
ฮอลันดาได้ครอบครองเมืองปัตตาเวีย (เมืองจาร์กาตาในปัจจุบัน) ในเกาะชวา และใน พ.ศ.
๒๑๘๔ ได้เข้ายึดมะละกาของโปรตุเกส ต่อมาได้ขยายสถานีการค้าไปในเกาะชวา สุมาตรา
หมู่เกาะโมลุกกะ เกาะบอร์เนียว เซลีเบส ตลอดจนแหลมมลายู
การ ที่มีอำนาจผูกขาดในหมู่เกาะอินดีสตะวันออก
ในขณะที่ชาวพื้นเมืองรบพุ่งกันอยู่ได้เปิดโอกาสให้ฮอลันดาเข้าแทรกแซงกิจการ
ภายในและขยายอิทธิพลของตนได้สะดวกขึ้น
ต่อมาบริษัทเสื่อมลงเนื่องจากเกินการฉ้อโกงในบริษัท
เจ้าหน้าที่ของบริษัททำการค้าขายส่วนตัวทำให้บริษัทขาดทุนและมีหนี้สินมาก รัฐบาลจึงยุบบริษัทและเข้าปกครองหมู่เกาะอินดีสตะวันออกโดยตรง
สาเหตุที่ทำให้อำนาจทางการค้าของฮอลันดาเสื่อม มีดังนี้
1.
การเข้ามาขยายอิทธิพลของอังกฤษ
ในปี
ค.ศ1818 เซอร์ แสตมฟอร์ด แรฟเฟิล
ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลอังกฤษให้เป็นผู้ว่าการอาณานิคมของอังกฤษในเบนคู เลน
แต่เนื่องจากบริเวณนี้ฮอลันดาผูกขาดทางการค้าอยู่
เซอร์แรฟเฟิลจึงคิดหาสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อจัดตั้งสถานีการค้าแห่งใหม่และ
เพื่อคานอำนาจของฮอลันดา เขาได้ออกสำรวจและเดินทางถึงสิงคโปร์ในวันที่ 29 มกราคม 1819 เซอร์แรฟเฟิลพบว่าสิงคโปร์มีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมจะเป็นศูนย์กลางการค้าของอังกฤษในภูมิภาคนี้
ขณะนั้นเกาะสิงคโปร์เป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ
ตั้งอยู่บนปากแม่น้ำสิงคโปร์ และเป็นส่วนหนึ่งของยะโฮร์ เซอร์แรฟเฟิลเจรจากับสุลต่าน
อับดุล ราห์มาน มอสแซน (Sultan Abdul Raman Mauzzan, 1812-1819) แห่งยะโฮร์เพื่อจัดตั้งสถานีการค้าบนเกาะสิงคโปร์ แต่ถูกปฏิเสธ
ทั้งนี้เพราะยะโฮร์อยู่ภายใต้อำนาจของฮอลันดาและบูกิส
ต่อมาอังกฤษได้สืบทราบว่าการที่สุลต่าน อับดุล ราห์มาน มอสแซน ได้ครองราชย์เป็นเพราะพระเชษฐา
ตนกูฮุสเซน ชาห์ หรือ ตนกูลอง (Tengku Hussein Shah หรือ Tengku
Long) ซึ่งมีสิทธิ์ในการครอบครองราชย์ไม่ประทับอยู่ที่ยะโฮร์ในขณะที่อดีตสุลต่านสวรรคต
จึงเสียสิทธิ์ในการครองบัลลังก์ เซอร์แรฟเฟิลจึงได้สมคบกับตนกูฮุสเซน ชาห์
ซึ่งถูกเนรเทศไปอยู่ที่รีเยาให้กลับมาเป็นสุลต่านแห่งยะโฮร์
ช่วยให้อังกฤษสามารถครอบครองสิงคโปร์ โดยในวันที่ 6 กุมภาพันธ์
1819 เซอร์แรฟเฟิล โดยบริษัทอินเดียตะวันออก
และสุลต่านฮุสเซน ซาห์ (Sulantan Hussein Shah, 1819 - 1835) ได้ลงนามอย่างเป็นทางการเพื่อขอใช้เกาะสิงคโปร์ เมื่ออังกฤษได้จัดตั้งอาณานิคมช่องแคบซึ่งประกอบด้วย
ปีนัง ดินดิงส์ มะละกา และสิงคโปร์
ได้กำหนดให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการค้าและการปกครองของอาณานิคมช่องแคบ
2. ความเสื่อมของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา
การแข่งขันทางด้านการค้าในยุโรป การขยายการค้าเกินกำลัง V.O.C.
ขยายตัวทางการค้าเข้าไปใน จีน ญี่ปุ่น อินเดีย
ทำให้มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก การค้าในจีนขาดทุ่น
ประกอบกับสินค้าเครื่องเทศลดความนิยมลง ความต้องการสิ่งทอ จากอินเดีย และ
ใบชาจากจีนเพิ่มขึ้น แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปลูกพืชชนิดใหม่เช่นชา กาแฟ
แทนการปลูกเครื่องเทศในหมู่เกาะชวา ตั่งแต่บันทัมถึงมาธะรัม
จำกัดการเพาะปลูกเครื่องเทศให้น้อยลง คือ ให้ปลูกได้ครอบครัวละไม่เกิน ๕ ต้น
ใครปลูกมากจะถูกจำคุก (ศิวพร ชัยประสิทธิกุล, ผศ., ๒๕๓๐ : ๘๐) แต่ก็ไม่สามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทได้
การผูกขาดการค้า ดัชไม่คำนึงถึงผลประโยชน์
ไม่สนใจสวัสดิการของชาวพื้นเมือง เอารัดเอาเปรียบชาวพื้นเมือง
ให้ค่าจ้างแรงงานพื้นเมืองถูก ให้ราคาสินค้าต่ำ
ขายสิ้นค้าอุปโภคบริโภคให้ชาวพื้นเมืองแพงการผูกขาดทางการค้าไม่ได้ผลเท่า ที่ควรเนื่องจากมีอังกฤษและพ่อค้าชาวอาหรับเป็นคู่แข่ง
อังกฤษและฝรั่งเศสหันมาส่งเสริมคนพื้นเมืองในอาณานิคมของตน
เพาะปลุกค้าขายแข่งกับฮอลันดา ทำให้รายได้ของฮอลันดาลดลง
ผลจากควบคุมการผลิตไม่ให้ผลผลิตมากเกินไป สิ้นค้าเครื่องเทศลดความนิยมลง
การผลิตต้องถูกควบคุมโดย V.O.C. กดราคาสินค้าให้ต่ำ
คนพื้นเมืองไม่พอใจต่อการบังคับการเพาะปลูก ต้องทำงานหนัก
ไม่มีเสรีภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ จึงเกิดการก่อกบฏ อีกทั้งเกิดปัญหาโจรสลัด
และการลักลอบขายสินค้า ดัชต้องเสียเงินอย่างมากในการปราบปราม
เกิดปัญหาทุจริตในแวดวงราชการ
ข้าราชการได้เงินเดือนน้อยจึงต้องมีการติดสินบน แอบค้าขาย หารายได้ส่วนตัว
และโกงบริษัทด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นซื้อสิ้นค้าจากคนพื้นเมืองถูก ๆ ทั้ง ๆ
ที่ดัชให้ราคาถูกอยู่แล้ว แต่กลับเบิกจากบริษัทแพงกว่าราคาซื้อ โกงตาชั่งน้ำหนัก
ฯลฯ ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในการปราบปราม
การมีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น
จึงมีค่าใช่จ่ายมากขึ้นเนื่องจากการขยายดินแดนและควบคุมดินแดนต่าง ๆ
จ้างข้าราชการมากขึ้น มีการก่อกบฏหลายครั้ง รัฐเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงในยุโรป สงครามปฏิวัติอเมริกา และ การปฏิวัติฝรั่งเศส
ทำให้เศรษฐกิจยุโรปชะงักงัน V.O.C. เสียผลประโยชน์ทางการค้า
การจ่ายเงินคืนกำไรให้หุ้นส่วนมาก ทั้งที่บริษัทใกล้จะขาดทุน
เพราะกลัวหุ้นส่วนถอนหุ้น
ในที่สุด บริษัท V.O.C. ต้องล้มละลายลงในวันที่ ๓๑
ธันวาคม ค.ศ. ๑๗๙๙ รัฐบาลฮอลันดาต้องเข้ามารับภาระในการชำระหนี้สิน
มีการส่งข้าหลวงใหญ่เข้ามาปกครองอาณานิคม ทำการปฏิรูปการปกครองใหม่
3.
การเกิดสงคราม นโปเลียนในยุโรป ค.ศ. 1811 –
1816
ฮอลันดาต้องตกอยู่ใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส
อังกฤษจึงต้องเข้ามาดูแลชวา และ หมู่เกาะเครื่องเทศชั่วคราว ภายใต้การปกครองของบริษัทอินเดียตะวันของอังกฤษ ในระหว่างปี ค.ศ. ๑๘๑๑ –
๑๘๑๖ เมื่อปี พ.ศ.
๒๓๓๘ (ค.ศ. ๑๗๙๕) กองทัพปฏิวัติฝรั่งเศสนําโดยพระเจ๎านโปเลียนที่ ๑ ได๎กรีฑาทัพเข๎ายึดครองเนเธอรแลนด และในปี พ.ศ. ๒๓๕๒ (ค.ศ. ๑๘๑๐) เนเธอรแลนดก็ได๎ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฝรั่งเศส
ต่อมาเมื่อจักรวรรดิฝรั่งเศสเสื่อมอํานาจลงเนเธอร์แลนด์จึงได้รับเอกราชคืนมาอีกครั้งในปี
พ.ศ. ๒๓๕๗ (ค.ศ. ๑๘๑๔)
โดยมีเบลเยียมเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอรแลนด อย่างไรก็ดี เนื่องจากความแตกต่างในทุก ๆ
ด้านระหว่างเนเธอรแลนดและเบลเยียม ประเทศทั้งสองจึงได้แยกออกจากกัน
4.
การถูกกีดขวางจากฝรั่งเศส
เช่น ในปี ค.ศ. ๑๖๘๕
ฟอลคอนไม่ยอมให้ชาวฮอลันดาสร้างสถานีการค้าเป็นตึกที่นครศรีธรรมราช
แต่ยอมให้สร้างด้วยไม้เป็นการชั่วคราว จากอุปสรรคประการต่างๆ
ที่ขัดขวางการค้าขายของฮอลันดา ทำให้ฮอลันดาค่อยๆ ถอนตัวทางการค้าในประเทศสยามตั้งแต่นั้นมา
การค้าของฮอลันดาก็เสื่อมโทรมลงตามลำดับ จนกระทั่งอยุธยาเสียแก่พม่าในปี
ค.ศ. ๑๗๖๗ เป็นเหตุให้การค้ากับชาวตะวันตกได้ยุติลงโดยสิ้นเชิง
การปฏิวัติอุตสาหกรรมความ ยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจของฮอลันดาได้สิ้นสุดลงในระหว่างศตวรรษที่ ๑๘ ทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ อาจเป็นเพราะความก้าวหน้าที่ดําเนินมานั้นได้หยุดชะงักลง หรือเสื่อมทรุดลง แต่ว่าส่วนใหญ่คงเนื่องมาจากประเทศอื่นพัฒนารุดหน้าตามมาทันโดยเลียนแบบทาง เทคนิคด้านต่างๆ แล้วในที่สุดก็เลิกซื้อสินค้า เลิกใช้บริการ เลิกใช้เรือ หรือเงินทุนของฮอลันดา จุดอ่อนอันสําคัญของฮอลันดาซึ่งไม่มีวัตถุดิบที่หาได้ภายในประเทศได้ทําให้ ฮอลันดาไม่สามารถที่จะดํารงฐานะเป็นผู้ผลิตสินค้าใดๆ ได้เป็นการถาวรตลอดไป การที่ต้องอาศัยสั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศเพื่อแปรสภาพแล้วส่งออกไปจําหน่าย อีกนั้น ทําให้ฐานะทางเศรษฐกิจของฮอลันดาไม่มั่นคงแน่นอนและตกอยู่ในฐานะลําบาก เมื่อประเทศที่เคยส่งวัตถุดิบให้ หรือที่เคยซื้อสินค้าจากฮอลันดากลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมมีฐานะเข้มแข็ง ขึ้น หรือประเทศดังกล่าวกลายเป็นศัตรูทางการเมืองกับฮอลันดา หนึ่ง ในด้านการต่อเรือและการเดินเรือ ประเทศอื่นก็มีความรู๎ความสามารถขึ้น และในด้านการเงินการธนาคาร ชาวฮอลันดาก็ไม่อาจทําการผูกขาดได้เช่นแต่ก่อน บุคคลที่เคยอาศัยชาวฮอลันดาเป็นคนกลาง ก็สามารถทําการติดต่อกันได้โดยตรง ในที่สุดฐานะของฮอลันดาที่เคยได้เปรียบชาติอื่นในด้านต่างๆ ก็เริ่มลดลงและความได้เปรียบดังกล่าวก็เริ่มหลุดลอยไปทีละอย่างสองอย่าง อีกประการหนึ่ง ความผิดพลาดอย่างฉกรรจ์บางอย่างของฮอลันดา และการที่มีแนวความคิดหรือทรรศนะตายตัว โดยไม่ยอมปรับเปลี่ยนตนให้ทันต่อการเปลี่ยนผันของโลก เป็นส่วนสำคัญทำให้อำนาจฮอลันดาเสื่อมลง
หนังสืออ้างอิง
ดี.อี.จี. ฮอลล์.
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : สุวรรณภูมิ – อุษาคเนย์ภาคพิสดาร
เล่ม ๑ –
เล่ม ๒.
ในมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ.
ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์. ๒๕๔๙.
ภูวดล ทรงประเสริฐ. อินโดนีเซีย :
อดีตและปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย. ๒๕๓๙.
ศิวพร ชัยประสิทธิกุล, ผศ. ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอดีตถึงปัจจุบันโดยสังเขป.
พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ๒๕๕๐.
“_____________”. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายหลังการเข้ามาของชาติตะวันตกถึงภายหลัง
สงครามโลกครั้งที่ ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ๒๕๓๐.
สถานเอกอัคราชทูตอินโดนีเซีย.
อินโดนีเซียโดยสังเขป. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : สถาณเอกอัคราชทูต
อินโดนีเซีย, ๒๕๒๒.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น